เลือกสุขภัณฑ์ให้เหมาะกับบ้าน เติมสุขทุกครั้งเมื่อใช้งาน

เลือกสุขภัณฑ์ให้เหมาะกับบ้าน เติมสุขทุกครั้งเมื่อใช้งาน

สุขภัณฑ์ (Sanitaryware) นั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านและทุกสถานที่ต้องมีไว้ใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุระส่วนตัวในทุก ๆ วัน และแน่นอนว่าโถสุขภัณฑ์ตามท้องตลาดในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกใช้งานอยู่หลากหลายประเภท โดยโถสุขภัณฑ์แต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีและประโยชน์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกซื้อโถสุขภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นประเภทของ สุขภัณฑ์ ระบบชำระล้าง ราคา และยี่ห้อ HomeGuru จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโถสุขภัณฑ์แต่ละแบบกันให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อกันให้ง่ายขึ้นครับ

ประเภทของ สุขภัณฑ์

1. สุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece)

ลักษณะของ สุขภัณฑ์ ประเภทนี้จะมีถังพักน้ำอยู่รวมเป็นชิ้นเดียวกับโถสุขภัณฑ์ จึงทำให้ไม่มีรอยต่อ ดูสวยงาม ทำความสะอาดง่าย ติดตั้งได้รวดเร็วโดยไม่ต้องประกอบชิ้นส่วน มีระบบชำระล้างที่ทำงานเงียบ และยังไม่มีปัญหาน้ำรั่วมากวนใจเมื่อใช้ไปนาน ๆ แถมที่สำคัญเมื่อไม่มีรอยต่อ ก็จะช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคได้อีกด้วย

สุขภัณฑ์ สุขภัณฑ์ สุขภัณฑ์

2. สุขภัณฑ์แบบสองชิ้น (Two Pieces)

เป็น สุขภัณฑ์ ที่ออกแบบให้มีถังพักน้ำแยกกันกับโถนั่ง จึงทำให้ขั้นตอนการติดตั้งและการทำความสะอาดยุ่งยากกว่าแบบชิ้นเดียว แต่หากมองในมุมของการใช้งานก็แทบไม่ต่างกันมากนัก

ชักโครก ชักโครก ชักโครก

3. สุขภัณฑ์แบบอัตโนมัติ (Automatic)

เป็น สุขภัณฑ์ ที่ทำงานผ่านระบบไฟฟ้าและควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล  มีระบบชำระล้างทั้งสำหรับการขับถ่ายหนัก และขับถ่ายเบาที่สามารถปรับระดับความแรงและทิศทางของน้ำได้ตามต้องการ และนอกจากระบบน้ำแล้วยังมีระบบเป่าลมที่ช่วยลดความอับชื้นได้ รวมไปถึงมีระบบอุ่นฝารองนั่งที่จะทำให้การเข้าห้องน้ำนั้นสบายขึ้นกว่าที่เคย ซึ่งสุขภัณฑ์อัตโนมัติจะแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

ชักโครกเซ็นเซอร์ ชักโครกโฮมโปร ชักโครกโฮมโปร

3.1 แบบติดตั้งระบบอัตโนมัติในตัว และควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล

เป็นแบบที่มีระบบติดตั้งมาพร้อมกับโถ สามารถชำระล้าง เป่าลม อุ่นฝารองนั่ง และฟลัชได้ตามคำสั่ง เหมาะสำหรับการติดตั้งในห้องน้ำที่สร้างใหม่ แถมยังมีดีไซน์ทันสมัย ทำให้ห้องน้ำดูสวยงามมากขึ้น

3.2 แบบฝารองนั่งอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ 

เป็นแบบที่นำมาใช้ร่วมกับโถสุขภัณฑ์ของเดิมได้ในกรณีที่ไม่อยากรื้อทำห้องน้ำใหม่ โดยฝารองนั่งอัตโนมัติสามารถใช้งานได้คล้ายคลึงกับแบบโถอัตโนมัติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ต้องกดน้ำเอง 

ระบบชำระล้างของโถสุขภัณฑ์

สุขภัณฑ์

สุขภัณฑ์ ในปัจจุบันนั้นมีระบบชำระล้างที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละระบบก็จะมีคุณสมบัติและจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดยระบบพื้นฐานจะมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่

1. ระบบ WASH DOWN สะดวก ตักราดได้

เป็นระบบชำระล้างที่ใช้น้ำใหม่แทนที่น้ำเก่า โดยใช้ความแรงของน้ำจากที่สูง และสามารถตักราดได้ในกรณีที่น้ำไม่ไหลหรือปั๊มน้ำไม่ทำงาน

ระบบชักโครก

2. ระบบ SIPHONIC WASH-DOWN หรือระบบกาลักน้ำ

ช่วยให้เกิดแรงดูดในระบบท่อคอห่าน มีประสิทธิภาพในการชำระล้างดีกว่าระบบ Wash Down สามารถดูดกากเบาได้ดี  ในกรณีที่น้ำไม่ไหลหรือปั๊มน้ำไม่ทำงานก็สามารถเติมน้ำในหม้อน้ำแล้วกดชำระได้ตามปกติ

ระบบชักโครก

3. ระบบ SIPHON JET เร็ว แรง และหมดจด

เป็นระบบชำระล้างที่สามารถปล่อยน้ำผ่านรูเจ็ทที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่งน้ำได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทำความสะอาดได้อย่างหมดจด ช่วยทำให้เกิดแรงดูด แต่อาจจะมีเสียงดังกว่าระบบชำระล้างแบบอื่น

 

ระบบชักโครก

4. ระบบ SIPHON VORTEX สะอาด เงียบ

เป็นระบบที่มีถังพักน้ำเตี้ย ตำแหน่งรูปล่อยน้ำในโถจะใหญ่กว่าระบบ Siphon Jet โดยจะอยู่ทางด้านซ้ายของสุขภัณฑ์ (เมื่อหันหน้าเข้าหาสุขภัณฑ์) ขณะกดชำระน้ำจะมีลักษณะเหมือนน้ำวน (สะดือทะเล) 

ระบบชักโครก

นอกเหนือจากระบบการชำระล้างที่ได้กล่าวไปทั้ง 4 แบบนี้แล้ว ในปัจจุบัน สุขภัณฑ์ บางรุ่นอาจไม่ได้ใช้เพียงระบบใดระบบหนึ่ง แต่อาจจะมีการเลือกผสมผสานระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันอีกด้วย

เรื่องต้องรู้ก่อนติดตั้งโถสุขภัณฑ์

สุขภัณฑ์

1. ระยะของท่อน้ำทิ้ง

ท่อน้ำทิ้งชักโครก

โดยปกติแล้ว ห้องน้ำแต่ละห้องมักมีท่อน้ำทิ้งหรือท่อเดรนอยู่ที่พื้นตรงตำแหน่งใต้สุขภัณฑ์ เพื่อรับน้ำทิ้งจากการฟลัชชำระล้าง ซึ่งหากระยะของท่อน้ำทิ้งดังกล่าวไม่ได้เป็นระยะมาตรฐาน หรือมีระยะที่ไม่พอดีกับระยะท่อของตัวสุขภัณฑ์ ก็จะเกิดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมากวนใจได้ ดังนั้นหากต้องการจะติดตั้ง สุขภัณฑ์ ใหม่ ก็ควรตรวจสอบและจัดเตรียมพื้นที่ติดตั้งให้มีระบบสุขาภิบาลที่ได้มาตรฐานก่อนเป็นอันดับแรก โดยตรวจสอบระยะท่อน้ำทิ้งที่พื้นให้อยู่ในระยะมาตรฐาน ซึ่งระยะจากผนังจนถึงจุดกึ่งกลางท่อน้ำทิ้งควรอยู่ที่ 30.5 ซม. 

2. ขนาดท่อน้ำทิ้ง

ท่อน้ำทิ้งชักโครก

นอกจากระยะการติดตั้งท่อน้ำทิ้งที่ไม่พอดีกัน อีกสาเหตุหลักของการเกิดปัญหากลิ่นคือ เรื่องของขนาดท่อน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากไม่ใช่ท่อน้ำทิ้งขนาด 4 นิ้ว (ท่อพีวีซี ชั้น 8.5 หรือท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 103 มม.) ก็จะทำให้สวมท่อของ สุขภัณฑ์ เข้ากับท่อน้ำทิ้งที่พื้นได้ไม่ดี และช่องว่างระหว่างท่อทั้งสองจะเป็นสาเหตุของการปล่อยให้กลิ่นไม่พึงประสงค์ตีกลับขึ้นมา หรือแม้แต่การที่ท่อน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งไม่เสมอพื้น ก็จะทำให้เกิดช่องว่างจนกลิ่นตีกลับขึ้นมาได้เช่นกัน ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการตรวจสอบและเลือกท่อน้ำทิ้งให้ตรงมาตรฐาน ไม่ควรเลือกที่หนาหรือบางกว่าขนาดมาตรฐาน

3. การดัดแปลงท่อ หรือการติดตั้งโดยไม่ทำตามคู่มือ

ท่อน้ำทิ้งชักโครก

เมื่อระยะท่อน้ำไม่พอดี หรือมีการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน หลายคนมักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบผิด ๆ เช่น การสกัดพื้นให้ลาดเอียงไปหาท่อน้ำทิ้ง การตัดท่อบางส่วนออก หรือการเอาซีเมนต์ ยาแนว หรือวัสดุอื่น ๆ มาพยายามปิดช่องว่างระหว่างท่อและพื้นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งผลสุดท้ายคือสิ่งปฏิกูลนั้นไม่สามารถไหลลงท่อน้ำทิ้งไปทั้งหมด จนเกิดการสะสมตกค้าง จึงทำให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา ดังนั้นจึงแนะนำให้แก้ไขโดยการเตรียมพื้นที่ติดตั้งให้เป็นไปตามสุขาภิบาลมาตรฐาน และทำตามคู่มือการติดตั้งอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญค่อควรหลีกเลี่ยงการดัดแปลงหน้างานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ สุขภัณฑ์ ที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อหรือติดตั้งที่ HomeGuru นำมาฝากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเลือกซื้อสุขภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการใช้งาน หรือปัญหาการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานให้ต้องตามแก้ไขกันให้วุ่นวายภายหลัง และสำหรับใครที่กำลังมองหาสุขภัณฑ์หรืออุปกรณ์ห้องน้ำแบบครบวงจร ก็สามารถมาเลือกช้อปได้ที่โฮมโปรทุกสาขาทั่วประเทศ หรือช้อปออนไลน์ผ่านทาง www.homepro.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ HomePro Call Center โทร 1284


ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ