วิธีการเลือกซื้อ ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง แบบเจาะลึกโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

วิธีการเลือกซื้อ ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง แบบเจาะลึกโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
การเลือกซื้อ ปลั๊กพ่วง หรือ รางปลั๊กไฟ ให้ตอบโจทย์การใช้งานภายในบ้าน ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อตามยี่ห้อที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่ว ๆ ไป แต่การเลือก ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน ต้องคำนึงไปถึงคุณภาพและความปลอดภัยของการใช้งานเป็นสำคัญ ที่สำคัญคือ ต้องป้องกันในกรณีที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ด้วย ซึ่งในวันนี้ HomeGuru จะมาเปิดทุกกลเม็ดของการเลือกซื้อปลั๊กให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ช่วยให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างไร้กังวล ปลั๊กพ่วง สำหรับการเลือกซื้อรางปลั๊กพ่วงให้ได้มาตรฐาน และใช้งานได้ดี สิ่งที่ควรคำนึงไม่ใช่แค่มาตรฐาน มอก. เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นเดียวกัน 1. ปลั๊กพ่วง ที่มีคุณภาพ ต้องมีเครื่องหมาย มอก. 2. ความยาวของ ปลั๊กพ่วง ต้องพอดีกับการใช้งาน 3. วัสดุของเต้ารับจะต้องไม่ลามไฟ ใช้แล้วไม่หลวม 4. สายไฟต้องทนแรงดันไฟฟ้า 5. รูต้องแน่น ไม่หลวม และไม่ขยับ 6. ปลั๊กพ่วง ต้องมีระบบตัดไฟและม่านนิรภัย 7. เลือกรุ่นที่มีฟีเจอร์เสริม เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ปลั๊กพ่วง

ปลั๊กพ่วง ที่มีคุณภาพ ต้องมีเครื่องหมาย มอก.

โดยทั่วไปแล้ว ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน ต้องมีเครื่องหมาย มอก. หรือก็คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำกับอยู่ทุกยี่ห้อ ซึ่งมาตรฐานเดิมของ มอก. ยังคงสามารถใช้ฟิวส์ได้ แต่ตามมาตรฐานปัจจุบัน ต้องเป็น มอก. 2432 – 2555 ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมานั้น จะไม่สามารถใช้ฟิวส์ได้อีก สำหรับสาเหตุหลัก ๆ ที่มีการยกเลิก มอก. เก่า ส่วนหนึ่งก็มีเหตุผลมาจากการเกิดไฟไหม้แล้วฟิวส์ไม่ตัดไฟ จึงให้หันมาใช้เซอร์กิตสวิตช์ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์แทนเท่านั้น นอกจากมาตรฐานของ มอก. แล้ว ยังสามารถเลือกซื้อรุ่นที่มีการรับรองตามมาตรฐานสากลได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ CD, TUV, CQC และ CCC นอกเหนือจากการสังเกตมาตรฐาน มอก. ใหม่ 2561 สิ่งที่ต้องสังเกตเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ปลั๊กที่มีมาตรฐาน ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ พ่วงด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปลั๊กพ่วง

ปลั๊กพ่วง ต้องไม่ยาวมากเกินไป และหุ้มฉนวน 2 ชั้น

อีกหนึ่งเทคนิคของการเลือกซื้อ รางปลั๊กไฟ ให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน ต้องเลือกปลั๊กที่มีความยาวพอดี เพราะเชื่อว่าหลาย ๆ บ้าน ก็อยากจะซื้อปลั๊กที่ใช้งานได้หลายระยะ ทั้งใกล้และไกล เพราะฉะนั้น ถ้าเลือกซื้อปลั๊กที่มีความยาวมาก ๆ แต่ต้องใช้ในระยะใกล้ ๆ ก็ต้องคอยม้วนสายไฟทุกครั้ง สายไฟต้องมากองอยู่รวมกัน ซึ่งนอกจากจะเกะกะแล้วยังอาจสะดุดล้มได้ง่ายอีกต่างหาก นอกจากนี้ ตัวสายไฟจะต้องหุ้มฉนวน 2 ชั้น แรงดันไฟฟ้าไม่ควรเกิน 440V และกระแสไฟฟ้าไม่ควรเกิน 16 A ตัวรางควรเลือกรุ่นที่ผลิตจากพลาสติก AVC มากกว่ารุ่นที่ผลิตจากพลาสติก PVC เพราะจะมีความเนียนและทนความร้อนได้ดีกว่า

ค่าขนาดของสายไฟ ที่ใช้แล้วปลอดภัยเหมาะกับครัวเรือน

• สายไฟขนาด 0.5 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 1,200 วัตต์ • สายไฟขนาด 1.0 sqmm. จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,200 วัตต์

วัสดุของเต้ารับจะต้องไม่ลามไฟ

สำหรับการเลือก รางปลั๊กพ่วง ที่ดี ให้ลองสังเกตดูก่อนว่าวัสดุของเต้ารับผลิตจากอะไร ควรเลือกเต้ารับที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟหรือติดไฟ มีคุณภาพสูง สามารถทนความร้อนได้ดี เรียกง่าย ๆ ว่า หากเกิดไฟช็อตหรือมีไฟลุกขึ้นที่ตัวปลั๊ก วัสดุทั้งหมดละลายเท่านั้น แต่จะไม่มีไฟลุกลาม นอกจากนี้ ตัวเต้ารับของ รางปลั๊กไฟ จะต้องมีการเดินสายและการระบุตำแหน่งของกระแสไฟฟ้า N L G ที่ถูกต้องเช่นกัน ในขณะที่ขั้ว Ground ของเต้ารับ ควรเป็นขั้วจริงและเป็นขั้วทองเหลือง ที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟรั่ว

สายไฟต้องทนแรงดันไฟฟ้า

อีกหนึ่งข้อสำคัญของการเลือกซื้อ ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน ที่ห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาดก็คือ ตัวสายไฟจะต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ดี ไม่ต่ำกว่าของทั้งเต้ารับและเต้าเสียบ เพื่อป้องกันการกระชากของไฟ ที่อาจส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ ส่วนตัวเต้าเสียบของรางปลั๊กควรเลือกแบบสามขากลมแทนขาแบน ตามมาตรฐานของ มอก. มีฉนวนหุ้มที่ขาปลั๊ก เพื่อป้องกันการช็อตและไม่ให้นิ้วสัมผัสกับขาปลั๊กที่มีกระแสไฟฟ้า ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน

รูต้องแน่น ไม่หลวม และไม่ขยับ

การเลือกซื้อรางปลั๊กพ่วงควรเลือกรุ่นที่ใช้แล้วมีความพอดี รูต้องแน่น ไม่ขยับหรือหลวม จะสังเกตได้เลยว่า หากเป็นรุ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน มีราคาค่อนข้างถูก เมื่อเสียบไปได้ระยะหนึ่งแล้วรูหรือเต้ารับจะหลวมอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งแค่ไปขยับหรือโดนหัวปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ดับทันที ถ้าหากยังใช้งานต่อก็จะส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ นอกจากนี้ ก่อนซื้อให้ลองเขย่าก่อนทุกครั้ง เพื่อลองฟังเสียงข้างใน การตรวจเช็กด้วยวิธีนี้จะทำให้รู้ว่ามีชิ้นส่วนใดภายในหลุดหรือไม่ โดยเฉพาะตะกั่วบัดกรีที่หลุดออกมา หากซื้อมาใช้งานโดยไม่ตรวจสอบก่อนก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดเพลิงไหม้ได้เลย

ปลั๊กพ่วง ต้องมีระบบตัดไฟและม่านนิรภัย

ระบบความปลอดภัยที่ ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน ควรมีก็คือ ระบบตัดไฟและม่านนิรภัย ซึ่งตัวระบบตัดไฟหรือที่เรียกกันว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาให้ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยจะทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันที เมื่อมีการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในวงจรไฟฟ้า ที่สำคัญคือ ควรเลือกซื้อรุ่นที่มี “ม่านนิรภัย” หรือก็คือ Safety Shutter จะมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติก ที่ปิดกั้นขั้วทองแดงกับสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่อาจจะเข้ามาหรือแหย่ลงไปยังตัวเต้ารับโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการถูกไฟดูดของสมาชิกภายในบ้านได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กที่อาจเอามือไปแหย่รูปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน

เลือกรุ่นที่มีฟีเจอร์เสริม เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

นอกเหนือจากองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ HomeGuru อธิบายไปแล้วในข้างต้น การเลือก ปลั๊กพ่วง ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ก็คือ การเลือกรุ่นที่มีฟีเจอร์หรือฟังก์ชันอื่น ๆ เสริมเข้ามา

1. สวิตช์เปิด-ปิด

รางปลั๊กพ่วงในปัจจุบันหลาย ๆ รุ่น จะมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น ซึ่งข้อดีคือ จะช่วยป้องกันไม่ให้ไฟกระชากจากการถอดและการเสียบปลั๊ก ทำให้ไม่ต้องดึงปลั๊กออกทุกครั้ง และช่วยประหยัดไฟเมื่อไม่มีการใช้งานได้ดี โดยตัวสวิตช์เปิด-ปิด มีทั้งสวิตช์แบบรวมและสวิตช์ที่แยกตามเต้ารับ

2. ช่องเสียบ USB

ฟังก์ชันเสริมที่หลาย ๆ คน น่าจะชื่นชอบก็คือ ช่องเสียบ USB ที่หลาย ๆ รุ่น ก็เริ่มเพิ่มออปชั่นนี้เข้ามา ทำให้ใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ อาทิ การชาร์จ Power Bank แต่หากต้องการชาร์จโทรศัพท์มือถือ ควรดูด้วยว่าเป็นรุ่นที่ต้องใช้เฉพาะหัวชาร์จของเครื่องเท่านั้นหรือไม่ เพราะจะได้ไม่ส่งผลเสียกับสุขภาพแบตเตอรี่ในภายหลัง แต่หากเป็นสาย USB Type-C จะไม่สามารถใช้กับช่องเสียบ USB ทั่ว ๆ ไปได้

3. ระบบป้องกันไฟกระชาก

ระบบป้องกันไฟกระชาก หรือ Surge Protector ข้อดีคือ จะช่วยป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดี โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าและไฟตก ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีระบบกราวด์หรือสายดิน เพราะระบบป้องกันไฟกระชากจะนำกระแสไฟถ่ายลงดินทันที ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กอยู่ปลอดภัย

4. ระบบตรวจจับความร้อน

อีกหนึ่งระบบที่ รางปลั๊กไฟ หลาย ๆ รุ่น เพิ่มเข้ามาก็คือ ระบบตรวจจับความร้อน ที่จะช่วยป้องกันปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้ เพราะในบางครั้งไฟฟ้าลัดวงจรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อมีเศษฝุ่นสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จนก่อให้เกิดประจุไฟฟ้าจนนำมาสู่ไฟฟ้าลัดวงจร

5. ช่อง Universal Socket

หากมีช่อง Universal จะเป็นการบอกว่า ปลั๊กพ่วง รุ่นนั้น ๆ สามารถใช้ร่วมกับปลั๊กไฟของประเทศไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น หัวกลม หัวแบน หัวสามขา ทำให้ไม่ต้องซื้อตัวแปลงปลั๊กไฟเพิ่มเติม
ปลั๊กพ่วง ปลั๊กพ่วง ปลั๊กพ่วง
จบไปแล้วกับการเลือกซื้อ ปลั๊กพ่วง ให้ได้คุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน ปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. ปี 2561 ซึ่งนอกเหนือจากการพิจารณาข้อมูลข้างต้นที่ HomeGuru นำมาอธิบายแล้ว ให้ลองคำนวณกำลังไฟคร่าว ๆ ดูก่อน ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะใช้มีกำลังไฟเท่าไหร่ เหมาะกับ ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน แบบไหน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์หมุนมาก ๆ อย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า และไดร์เป่าผม แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหา รางปลั๊กไฟ ดี ๆ อยู่ เพียงแค่เข้าไปเลือกซื้อที่ HomePro ก็จะได้สินค้าในราคาที่ย่อมเยาทันที

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ