กระเบื้องยาง ทางเลือกของคนอยากเปลี่ยนลุคบ้านใหม่!

กระเบื้องยาง ทางเลือกของคนอยากเปลี่ยนลุคบ้านใหม่!

กระเบื้องยาง ถูกผลิตขึ้นมาจากโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งเพื่อใช้ในการปูพื้นโดยเฉพาะ และลักษณะที่โดดเด่นของกระเบื้องยางคือ มีความยืดหยุ่นพอสมควร และมีแรงหนืดในระหว่างที่สัมผัสค่อนข้างสูง  ทำให้สามารถลดโอกาสในการลื่นล้มหรือสะดุดล้มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถรองรับแรงกระแทกหรือน้ำหนักมาก ๆ ได้ด้วย และด้วยความที่ผลิตมาจากโพลิเมอร์ จึงทำให้กระเบื้องยางนั้นทำความสะอาดได้ง่าย และในปัจจุบันก็มีกระเบื้องยางให้เลือกใช้งานอยู่หลากหลายชนิด ซึ่งหากแบ่งตามลวดลายของกระเบื้องยาง ก็จะแบ่งได้เป็น ลายไม้ ลายหิน ลายพื้น และลายปูนเปลือย ใครที่สนใจ กระเบื้องยาง อยู่ ตาม HomeGuru มาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันเลย!

คุณสมบัติของกระเบื้องยาง 

1. เก็บเสียงได้ดี 

กระเบื้องยางสามารถเก็บเสียงได้ดี และมักจะมีความนุ่มนวลเมี่อสัมผัส เหมาะที่จะนำมาปูพื้นบ้าน โดยเฉพาะบ้านสองชั้น เพราะจะไม่ทำให้บ้านมีเสียงพื้นดังจนเป็นการรบกวนนั่นเอง

2. ทนต่อรอยขีดข่วน 

กระเบื้องยางจะมีคุณสมบัติทนต่อรอยขีดข่วนได้ดี อีกทั้งยังมีผิวหน้าที่เรียบสวย และสบายเท้าเมื่อสัมผัส

3. ลายไม้สวยคมชัด

กระเบื้องยางลายไม้จะมีลวดลายที่ดูสวยคมชัด และดูเหมือนไม้จริงมาก แถมยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย

4. ไม่แตกหักได้ง่าย

เนื่องจากกระเบื้องยางมีความทนทาน และมีความยืดหยุ่นสูง จึงไม่ทำให้แตกหักง่าย สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน หรือหากมีส่วนไหนที่ต้องซ่อมแซม ก็สามารถซ่อมแซมได้ง่าย และไม่ทำให้พื้นดูมีตำหนิอีกด้วย

การแบ่งชั้น (LAYER) ของ กระเบื้องยาง 

ชั้นของกระเบื้องยาง

1. ชั้นบนสุด (Wear Layer)

เป็นวัสดุเคลือบผิวประเภท PVC ความหนาประมาณ 0.15-0.5 มม. ทำหน้าที่ปกป้องชั้นฟิล์มดังกล่าว ซึ่งความหนาของชั้นผิวเคลือบที่มากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความแข็งให้กับแผ่นกระเบื้องยางมากเท่านั้น นอกจากนี้ผิวบนสุดของ Wear Layer จะเคลือบด้วย Polyurethane อีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันน้ำ รังสี UV รอยขีดข่วน และคราบสกปรกที่เกิดจากการใช้งาน รวมถึงเป็นตัวควบคุมลักษณะความมัน เงา หรือด้านของพื้นผิวกระเบื้องยางด้วย

2. ชั้นกลาง (Middle/Core Layer)

เป็นชั้นวัสดุหลักก็คือ ไวนิล PVC หรือโฟม ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละผู้ผลิตจะเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนตัว ยืดหยุ่น เหนียว หรือนุ่ม เช่น กระเบื้องยาง เนื้อนุ่มจะใช้โฟมเป็นวัสดุชั้นกลาง และคืนตัวได้ดีถึงแม้จะถูกกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งผิวบนของวัสดุชั้นกลางนี้จะพิมพ์ หรือเคลือบฟิล์มที่มีสีและลวดลายต่าง ๆ 

3. ชั้นล่างสุด (Bottom/Base Layer)

เป็นวัสดุไฟเบอร์กลาสที่จะช่วยเสริมความแข็งแรง และเป็นชั้นที่เป็น ไวนิล PVC หรือโฟมอีกชั้นที่บางกว่าชั้นกลาง เพื่อช่วยเพิ่มความคงตัว โดยผิวล่างสุดของชั้นนี้มักจะเคลือบสาร Anti-Mould ป้องกันการเกิดเชื้อราด้วย

ส่วนประกอบทั้งสามชั้นของแผ่นกระเบื้องยาง เมื่อรวมกันแล้วจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 1.2-4.0 มม. ซึ่งความหนาของแผ่นกระเบื้องยางจะส่งผลต่อการเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้ง โดยที่กระเบื้องยางยิ่งบางเท่าไรยิ่งต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบมากขึ้นเท่านั้น

รูปแบบของกระเบื้องยางแบ่งตามการติดตั้ง

กระเบื้องยางแบบทากาว

1. แบบ Dry Back 

คือการติดตั้งโดยใช้กาวทาลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้องยาง สำหรับการติดตั้งจะเริ่มจากกลางห้องไล่ออกไปจนถึงขอบผนัง เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ต่อเนื่องขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในบ้านที่ผนังโดยรอบยังไม่เรียบร้อย พื้นที่ที่มีช่องว่างที่ขอบล่างของผนัง หรือพื้นที่ที่มีการสัญจรมาก อย่างอาคารสาธารณะต่าง ๆ

กระเบื้องยางหลังกาว

กระเบื้องยางแบบทากาว กระเบื้องยางแบบทากาว กระเบื้องยางแบบทากาว

2. แบบ Peel and Stick 

คือใช้กาวในการติดตั้งเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ด้านล่างหรือด้านหลังของแผ่นกระเบื้องยางจะมีชั้นกาวลักษณะเหมือนสติกเกอร์มาด้วย จึงติดตั้งได้เร็วกว่าเพราะลดขั้นตอนการทากาวบนพื้น และรอกาวเซตตัว

กระเบื้องยาง

กระเบื้องยางหลังกาว กระเบื้องยางหลังกาว กระเบื้องยางหลังกาว

3. แบบ Loose Lay 

คือการติดตั้งโดยไม่ใช้กาว บางครั้งเรียกว่า Floating Installation ผิวล่างของแผ่นจะมีความหนืดเพื่อป้องกันแผ่นกระเบื้องยางขยับ โดยอาจใช้เทปกาวสองหน้าควบคู่ไปด้วยตามแนวขอบห้อง เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว สามารถรื้อแผ่นบริเวณที่เสียหายออกเพื่อเปลี่ยนแผ่นใหม่ทดแทนได้ง่ายเช่นกัน นิยมใช้ในงานแปลงโฉมวัสดุปูพื้น หรือห้องที่มีผิวผนังเรียบร้อยดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการติดตั้งกระเบื้องยางซึ่งปูชนชิดต่อเนื่องพอดีกัน โดยเริ่มตั้งแต่ผนังฝั่งหนึ่งจรดผนังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งหากผนังส่วนที่ติดกับพื้นมีช่องว่างก็อาจทำให้แผ่นกระเบื้องขยับตัวได้

กระเบื้องยาง

4. แบบ Click-Lock 

คือการติดตั้งโดยไม่ใช้กาวแต่อาศัยการล็อกกันระหว่างแผ่น กระเบื้องยาง มักพบในกระเบื้องยางที่มีการออกแบบขอบกระเบื้องให้มีลิ้น หรือเป็นร่องเกี่ยวกัน สามารถปูบนพื้นเรียบทั่วไป รวมทั้งปูแผ่นโฟมรองก่อนเพื่อช่วยเรื่องการปรับระดับพื้น หรือใช้ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันเสียงได้ การติดตั้งวิธีนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ที่ติดตั้งต่อเนื่องกันไม่มากเท่าการติดตั้งโดยใช้กาว 

ข้อดีของกระเบื้องยาง

1. กันน้ำ ทำความสะอาดง่าย

หากพบว่ากระเบื้องยางมีคราบสกปรก สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกได้อย่างสบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องการบวมหรือพองตัว 

2. ไม่ลามไฟ

กระเบื้องยางจะช่วยป้องกันในเรื่องของการติดไฟ ทำให้เวลาเกิดปัญหาไฟไหม้ก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ลุกลามไปส่วนอื่น ๆ ของตัวบ้าน

3. สีสันสวยงาม เหมือนของจริง

กระเบื้องยาง มีจุดเด่นตรงที่มีสีสันสะดุดตา เช่น กระเบื้องยางลายไม้ก็จะมีลวดลายเหมือนลายไม้ของจริงจากธรรมชาติ มองด้วยตาเปล่าแทบแยกไม่ออก ซึ่งความสมจริงนี้จะช่วยทำให้บ้านดูหรู ดูมีราคามากขึ้น

4. ป้องกันปลวก

เนื่องจากไม่ใช่พื้นไม้จริง ปลวกจึงไม่กิน ทำให้ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเรื่องการกำจัดปลวก

5. ผิวนูน เดินแล้วไม่ลื่น

เป็นข้อดีที่จะช่วยให้หลาย ๆ บ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตัดสินใจได้ไม่ยาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุไปได้เยอะเลย

6. ติดตั้งง่ายดาย รวดเร็ว 

เมื่อเกิดปัญหา สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง ติดตั้งง่ายดาย รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย 

ปูกระเบื้องยาง

ข้อควรระวังในการใช้กระเบื้องยาง

1. หดตัวหลังใช้ไปนานๆ 

อายุการใช้งานของ กระเบื้องยาง จะอยู่ที่ 10-15 ปี ซึ่งหลังจากหมดอายุการใช้งาน กระเบื้องยางก็จะหดตัว ทำให้เห็นขอบเป็นร่อง ๆ ที่ดูแล้วไม่สวยงาม แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการซื้อแผ่นกระเบื้องยางมาติดตั้งเองแทนแผ่นเก่าที่ชำรุด

2. ขนาดอาจไม่เท่ากัน 

ขนาดของกระเบื้องยางอาจไม่เท่ากัน ซึ่งปัญหานี้จะเจอเฉพาะในสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ที่บางแผ่นจะยาวกว่า บางแผ่นจะสั้นกว่า ดังนั้นให้ตรวจสอบก่อนทำการปูทุกครั้ง และหากมีปัญหาให้ติดต่อกับทางสถานที่ที่คุณซื้อโดยทันที

ด้วยข้อดีที่มากมายขนาดนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ กระเบื้องยาง จะกลายมาเป็นไอเทมที่คนรักบ้านให้ความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ใครที่กำลังลังเลเรื่องวัสดุปูพื้นอยู่จึงไม่ต้องเสียเวลาตัดสินใจกันนานแล้ว! หากกำลังมองหากระเบื้องยาง รวมถึงอุปกรณ์สำหรับสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซมบ้านแบบครบวงจรก็สามารถมาเลือกช้อปกันได้ที่โฮมโปรทุกสาขา หรือช้อปง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.homepro.co.th


ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ