6 ไอเทม จบปัญหาสุขภาพออฟฟิศซินโดรม

6 ไอเทม จบปัญหาสุขภาพออฟฟิศซินโดรม
ทราบหรือไม่ว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดมากขึ้นเรื่อยๆ และกว่า 60% มาด้วยาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) โรคฮิตในปี พ.ศ. นี้ที่คนทำงานออฟฟิศรู้จักดีเหมือนเพื่อนสนิท เพราะ บางทีก็มาเยือนโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่อาการของโรคจะเกิดจากอยู่ในอิริยาบถเดิมในเวลาทำงานโดยไม่ขยับ การนั่งหลังค่อม หรือสายตาล้าจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ สัญญาณเตือนของอาการออฟฟิศซินโดรมมักเริ่มจากปวดศีรษะ, หลัง, บ่าไหล่, ข้อมือ หากเราละเลยการดูแลตัวเองจนเจ็บเรื้อรังหรือรู้สึกชาจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่น้อยจากการพบแพทย์ การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัดเลยละครับ ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มมีอาการหรือมีแนวโน้มเสี่ยงกับการเป็นออฟฟิศซินโดรม อย่าปล่อยไว้จนมีอาการซ้ำๆ จนรับมือยาก ลองมองหาวิธีป้องกันและแก้ไขด้วยการปรับพฤติกรรมในการทำงาน พร้อมเสริมตัวช่วยด้วยอุปกรณ์การยศาสตร์ที่จะทำให้ระหว่างทำงานรู้สึกสบายสรีระขึ้น ซึ่งเนื้อหานี้ HomeGuru ก็ได้รวบรวมข้อมูล ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม มาฝากทุกคนครับ ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม

6 Items แก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรม

1. เก้าอี้พอดีตัวปรับระดับได้

การนั่งทำงานที่ถูกต้องจะต้องนั่งหลังตรง นั่งได้เต็มก้นให้สะโพกและหลังชิดกับพนักพิงเก้าอี้ เพื่อป้องกันไม่ไห้กล้ามเนื้อหลังรับน้ำหนักแทนก้น ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดีกับโต๊ะทำงาน แต่เนื่องจากแต่ละคนมีความสูงและความยาวช่วงขาไม่เท่ากัน จึงควรเลือกเก้าอี้ที่ปรับระดับความสูงได้ โดยต้องนั่งไม่ให้เท้าลอยหรือเข่ายกสูงเกินไป มีพนักที่เอนไปด้านหลังประมาณ 100-130 องศา รองรับช่วงคอที่มีความยืดหยุ่นให้สามารถเอนหลังยืดพักกล้ามเนื้อได้เป็นระยะและมีที่พักแขนให้วางพักแขนบนเก้าอี้ในระดับที่สบาย เพื่อลดการเกร็งช่วงไหล่ แขน และข้อพับ ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

2. โต๊ะปรับระดับได้ หรือโต๊ะทำงานแบบยืน

โต๊ะทำงานที่ถูกหลักสรีระศาสตร์ ต้องอยู่ในระดับความสูงที่พอดีกับข้อศอกและข้อมือ หน้าจออยู่ในระดับสายตา ไม่ต้องเงยหรือก้ม จะช่วยลดอาการตึงหรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้ดี แต่ในความเป็นจริงโต๊ะทำงานในออฟฟิศจะเลือกซื้อมารวมๆ ไม่ได้วัดระยะความสูงที่พอดีเป็นรายบุคคล จึงไม่รองรับการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ทางเลือกที่ยืดหยุ่นคือการใช้โต๊ะทำงานที่มีกลไกปรับระดับได้หรือมีโต๊ะทำงานแบบยืน เพื่อสลับปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ลดความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมจากการนั่งอยู่กับที่ในท่าเดิมนานๆ อย่าง โรคกระดูกสันหลังคด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดชาร้าวลงขา
อุปกรณ์ป้องกันออฟฟิศซินโดรม อุปกรณ์ป้องกันออฟฟิศซินโดรม อุปกรณ์ป้องกันออฟฟิศซินโดรม
ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม

3. ที่วางโน๊ตบุ๊คปรับระดับได้

การใช้คอมพ์พิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสะดวกตรงที่พกพาติดตัวไปทำงานได้ง่าย แต่บางครั้งการพกพาโน๊ตบุ๊คก็มีข้อจำกัดของความสูงโต๊ะที่อาจจะต่ำไปหรือสูงไป ไม่พอดีกับการใช้งาน ทำให้ต้องก้มตัวหรือยืดแขนขึ้น เราสามารถเพิ่มทางเลือกให้ชีวิตได้โดยใช้ที่วางโน๊ตบุ๊คแบบปรับระดับได้ เพื่อให้จออยู่ในระดับพอดีกับสายตาเสมอ อุปกรณ์ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

4. ที่วางพักเท้า

ท่านั่งที่ถูกต้องนอกจากหลังต้องชิดพนักพิงแล้ว ยังต้องวางเท้าให้ราบไปกับพื้นทั้งสองข้าง ไม่ควรให้เท้าลอยเพราะทำให้น้ำหนักตกไม่ถึงพื้น แต่ตกอยู่ที่เบาะนั่งส่วนหน้าแทน หากนั่งแบบนี้นานๆ จะปวดล้า ชา เมื่อยน่อง และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ในกรณีที่นั่งเแล้วเท้าลอย ให้ใช้อุปกรณ์วางพักเท้าที่สามารถปรับระดับความสูงและปรับเอียงได้ เพื่อให้ระดับที่วางเท้าพอดีกับระยะเข่างอตั้งฉากหรือใกล้เคียงโดยไม่รู้สึกว่าต้องยกเข่าขึ้นสูงเกินไป จะช่วยลดการตึงตัวและความล้าของกล้ามเนื้อขา เสริมการไหลเวียนของระบบโลหิตให้ดีขึ้น ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม

5. เบาะรองนั่ง เบาะรองหลัง

คนที่จำเป็นต้องนั่งทำงานบนเก้าอี้นานๆ แต่เก้าอี้ไม่รองรับหลัง มักจะทำให้นั่งหลังค่อมและอาจเป็นที่มาของโรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) ได้ จึงควรมีเบาะรองหลังช่วยกระชับและดันหลังให้ตรงขึ้น ซึ่งจะช่วยได้มากในกรณีที่เก้าอี้มีระยะห่างระหว่างตัวผู้ใช้งานกับโต๊ะค่อนข้างมาก และควรมีเบาะรองนั่งเมื่อรู้สึกว่าเก้าอี้เตี้ยไปหรือนั่งนาน ๆ แล้วรู้สึกเมื่อยล้า เจ็บหลัง ปวดขา เจ็บก้นกบ เบาะรองนั่งจะช่วยรองรับสรีระของผู้ใช้งาน กระจายน้ำหนัก และลดแรงกดทับทำให้นั่งได้สบายขึ้น นานขึ้น
ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม
วิธีแก้ ออฟฟิศซินโดรม

6. ที่วางข้อมือรองรับเมาส์

สำหรับคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ สิ่งที่มาคู่กันคือ เมาส์ ซึ่งมีผู้ใช้หลายคนที่ชอบวางข้อมือทิ้งลงไปบนโต๊ะเลย หรือวางข้อมือกดทับบริเวณขอบโต๊ะ ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือและปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบได้ การใช้เมาส์ที่มีปุ่มหรือหมอนรองรับพยุงข้อมือให้ยกขึ้น จะช่วยขจัดจุดที่เกิดแรงกดและช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าข้อมือ ลดอาการบาดเจ็บสะสมได้เป็นอย่างดี ไอเทมป้องกันออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรมมองเผินๆ อาจเป็นอาการไม่ร้ายแรงเท่าโรคอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงความเจ็บปวดทางร่างกายบางจุดก็รู้สึกได้มากถึงระดับ 7-8 ทำให้การใช้ชีวิตไม่สะดวกและทรมานเช่นเดียวกัน ใครที่รู้ตัวว่ามีโอกาสเสี่ยง มาลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หมั่นขยับร่างกาย กายบริหารบ่อยๆ ลุกขึ้นยืนบ้างเป็นครั้งคราว จะเป็นการป้องกันตัวเองให้เขยิบห่างจากโรคภัยได้ไม่น้อยเลยครับ

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ