15 เทคนิคปรับบ้านหลังเดิมให้เป็นบ้านเย็นได้ ไม่ง้อแอร์!

15 เทคนิคปรับบ้านหลังเดิมให้เป็นบ้านเย็นได้ ไม่ง้อแอร์!
ปัญหาบ้านร้อน เชื่อว่าเป็นปัญหาที่แทบทุกบ้านต้องเผชิญ โดยเฉพาะบ้านเก่าที่อยู่มานาน บ้านมือสอง หรือบ้านสำเร็จรูปอย่างบ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ หรือแม้กระทั่งคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่เจ้าของบ้านไม่มีส่วนควบคุมการออกแบบ
สาเหตุความร้อนมาจากอะไรได้บ้าง?..ความร้อนที่มาจากกระจกหน้าต่าง กระจกประตู หรือ ความร้อนที่มาจากปูน
แต่หมดกังวลได้ครับ เพราะ HomeGuru มีวิธีปรับบ้านร้อนเป็นบ้านเย็นด้วยการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นด้วย 15 เทคนิคง่ายๆ ดังนี้ครับ ตกแต่งบ้านให้เย็น 1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือ แผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคา เพราะเป็นส่วนที่รับและเก็บกักความร้อนโดยตรง การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยสกัดความร้อนจากหลังคาไม่ให้ถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน และนอกจากใต้หลังคาแล้ว ยังสามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งใต้แผ่นฝ้าเพดาน และภายในผนังบ้านด้วยครับ และหากใครอยากศึกษาเกี่ยวกับฉนวนความร้อนเพิ่มเติม สามารถคลิกอ่านต่อได้ในบทความนี้ครับ ‘ฉนวนกันความร้อน’ คือ? เลือกแบบไหนคลายร้อนให้บ้านคุณ ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน  width=
2. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศที่หลังคา เพราะโดยธรรมชาติของอากาศร้อนจะลอยขึ้นที่สูง การติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยดูดระบายอากาศจึงช่วยเร่งกลไกการระบายความร้อนให้เร็วขึ้นได้ครับ พัดลมระบายอากาศ
พัดลมระบายอากาศ พัดลมระบายอากาศ พัดลมระบายอากาศ พัดลมระบายอากาศ
3. ติดแผ่นยิปซั่มหรือฝ้าทีบาร์สะท้อนความร้อน นอกจากฉนวนกันความร้อนแล้ว การใช้แผ่นยิปซั่มที่ติดแผ่นสะท้อนความร้อนไปบนตัวแผ่นเลย หรือติดฝ้าทีบาร์แบบที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ก็เป็นอีกทางเลือกเพื่อบ้านเย็นครับ 4.  ติดสปริงเกอร์พรมน้ำบนหลังคา เป็นวิธีที่แม้จะดูไม่สวยงามนัก แต่ข้อดีคือใช้งบประมาณไม่มาก และสามารถช่วยลดความร้อนได้เป็นอย่างดี คลายร้อนให้บ้าน
สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ ฝ้ายิปซัม ฝ้ายิปซัม
5. ทากันซึม หรือฉีดพ่นสารสะท้อนความร้อนสำหรับหลังคา slap หรือหลังคาคอนกรีตเรียบแบบที่มักจะเห็นกันในบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่มีหลังคาและฝ้าเพดาน รวมถึงบ้านที่มีดาดฟ้า หลังคาเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีลักษณะแบน ซึ่งหากมีงบประมาณมาก สามารถใช้วิธีทำหลังคาครอบอีกชั้นหนึ่งได้ครับ 6. ติดฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศ เพื่อให้ช่วยระบายความร้อนจากโถงหลังคาและแทนที่ด้วยอากาศที่เย็นกว่าจากลม ช่วยไม่ให้เกิดความร้อนสะสมในตัวบ้านครับ 7. ติดช่องระบายอากาศผนังและฝ้าเพดาน เพื่อให้อากาศไหลเวียนตลอดเวลาแม้เวลาที่ไม่มีใครอยู่บ้าน การเลือกติดช่องระบายอากาศจะช่วยให้บ้านระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อนอบอ้าว แต่ต้องเลือกติดตั้งในบริเวณที่สามารถเปิดไว้ได้ตลอดนะครับ ช่องระบายอากาศ 8. ติดกันสาด และระแนงบังแดดเพิ่ม โดยเลือกติดในส่วนที่โดนแดดเป็นบริเวณกว้าง หรือโดนแดดเป็นเวลานาน เพราะจะช่วยให้เกิดพื้นที่ร่ม ลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง และยังสามารถช่วยบังตา ให้ความเป็นส่วนตัวเพิ่มด้วยครับ
9. ทาสีผนังสีอ่อน และเลือกใช้สีสะท้อนความร้อน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการลดความรู้สึกร้อนให้กับบ้าน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้มากกว่าสีเข้ม และป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดีกว่า โดยเฉพาะสีทาภายนอกที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนโดยเฉพาะ คลายบ้านร้อน
10. เลือกใช้กระจกที่มีฉนวนกันความร้อน หรือติดฟิล์มกันความร้อนเพิ่ม เพื่อสะท้อนความร้อนและลดปริมาณแสงที่ส่องเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง นอกจากนี้การเลือกใช้กระจกสีชา หรือกระจก 2 ชั้น ก็สามารถช่วยได้ครับ ขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละบ้านด้วย 11. ปูกระเบื้องภายนอกและบริเวณชั้นล่างของบ้าน พื้นบ้านหรือที่จอดรถที่เป็นคอนกรีตนั้นเป็นวัสดุอบร้อน เมื่อโดนความร้อนแล้วจะร้อนขึ้นทวีคูณ การใช้กระเบื้อง หินอ่อน หินแกรนิต และหินธรรมชาติต่างๆ จะช่วยกักเก็บความเย็นจากพื้นดิน และระบายความร้อนได้เร็ว ทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ครับ ในกรณีปูพื้นภายนอกบ้านที่ต้องรับความร้อน 100% ก็สามารถใช้หญ้าเทียม หรือบล็อกปูพื้นมาช่วยลดความร้อนได้ครับ 12. ติดผ้าม่านกันแดด โดยเลือกผ้าม่านแบล็คเอาท์หรือผ้าม่านกันแสง ที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน และกรองแสง รวมถึงกัน UV ได้ดีด้วยครับ ม่านกันแดด
13. ติดพัดลมเพดานให้อากาศหมุนเวียน เป็นวิธีช่วยเพิ่มลมไหลเวียนในบ้านได้ดี และเร็วที่สุดวิธีหนึ่ง เพียงหมั่นเปิดหน้าต่าง และเปิดพัดลม ความเย็นจะกระจายตัวในวงกว้าง ไล่ความร้อนสะสมออกจากตัวบ้าน นอกจากพัดลมเพดาน ยังมี ‘พัดลมไอเย็น’ ที่เป็นตัวเลือกที่ HomeGuru อยากแนะนำ ถึงแม้จะเย็นสู้แอร์บ้านไม่ได้ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ พัดลมไอเย็น ราคาสบายๆ คลายร้อนแบบประหยัดไฟ ไม่ง้อแอร์บ้าน
ม่านกันแดด กันสาด พัดลมเพดาน พื้นแกรนิต
14. จัดบ้านให้โปร่งโล่ง ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ขวางทิศทางลม เพราะเมื่ออากาศถ่ายเทได้สะดวกย่อมส่งผลให้บ้านเย็นขึ้น นอกจากนี้ควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตและระบายความร้อนออกมาตลอดเวลาด้วยครับ 15. ปลูกต้นไม้ และสร้างแหล่งน้ำในสวน สำหรับบ้านที่มีเนื้อที่สำหรับจัดสวน การปลูกต้นไม้ก็เหมือนการกางร่มให้บ้าน แต่ต้องระวังไม่ปลูกต้นไม้ใหญ่ในตำแหน่งที่ขวางทิศทางลมครับ นอกจากนี้แหล่งน้ำในบ้านอย่างบ่อน้ำ หรือแม้แต่น้ำพุเล็กๆ ก็ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ และช่วยให้บ้านเย็นสบายขึ้นได้ครับ ปรับบ้านให้เย็นสบาย ปัญหาบ้านร้อนเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่แทบทุกบ้านต้องเจอ ดังนั้นการสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคำนึงถึงการออกแบบที่จะช่วยทำให้บ้านเย็นได้ตั้งแต่โครงสร้าง ซึ่งการออกแบบบ้านเย็นจะมีวิธีใดบ้าง HomeGuru ได้รวบรวมมาให้เพิ่มเติมแล้วครับในบทความ บ้านเย็น..ไม่ยาก ออกแบบบ้านร้อนให้เย็นตั้งแต่พื้นจรดหลังคา
สอบถามบริการ ติดตั้งฉนวน ติดตั้งผ้าม่าน HLS ติดตั้งกันสาด ระแนง เพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ