'ฉนวนกันความร้อน' คือ? เลือกแบบไหนคลายร้อนให้บ้านคุณ

"ฉนวนกันความร้อน" (Insulation) คือ วัสดุป้องกันความร้อน โดยการต้านทานพลังงานความร้อนให้เหลือลดน้อยลงก่อนส่งผ่านกระทบวัตถุอื่นๆ โดยวงการ “วัสดุก่อสร้าง”นิยมติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว, อลูมิเนียมฟอยล์, แผ่นสะท้อนความร้อน , โฟมกันความร้อน ชนิดต่างๆ เพื่อการป้องกันความร้อนใต้หลังคา ฝ้าเพดาน และผนังบ้าน อีกทั้งยังช่วยคุณประหยัดพลังงานพัดลมแอร์และเซฟเงินค่าไฟได้อีกด้วย
แต่...คุณรู้ข้อมูลคุณสมบัติฉนวนแต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน แล้วควรเลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้คลายร้อนให้บ้านและอาคารของคุณ HomeGuru มีคำตอบ ?

ฉนวนกันความร้อน แต่ละประเภทการใช้งาน?

1.1 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น
ฉนวนกันความร้อน แบบแผ่นเป็นที่นิยมสำหรับวงการวัสดุก่อสร้าง เพราะฉนวนกันความร้อนราคามีหลายระดับ หาซื้อง่าย ติดตั้งง่ายได้ด้วยตนเองในบางกรณี แต่ควรสวมหน้ากากและชุดป้องกันให้มิดชิด ส่วนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นควรติดตั้งไว้ฝ้าเพดานหรือใต้หลังคาบ้านในระยะสูงกว่า 1 เมตรขึ้นไป โดยวัสดุกันร้อนประเภทนี้มี 4 ชนิด ได้แก่
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiber Glass) หรือ ไมโครไฟเบอร์ใยแก้วช่วยดูดซับความร้อนและดูดซับเสียงสะท้อน พร้อมหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ซึ่งฉนวนชนิดนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นฉนวนกันความร้อนราคาไม่สูงมาก ทนความร้อนสูง ปลอดภัยไม่ติดไฟ มีความหนายืดหยุ่น ป้องกันความชื้น แมลงหรือเชื้อรา ติดตั้งง่ายได้ด้วยตนเองได้ทั้งบนฝ้า ใต้หลังคา และผนังบ้าน สำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ต้องไม่มีรอยฉีดขาด หากพบปัญา ควรใช้เทปกาวปิดให้สนิท เพื่อป้องกันการเกิดความชื้นจนทำให้ฉนวนใยแก้วเสื่อมประสิทธิภาพ : สินค้าฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือ "แผ่นสะท้อนความร้อน" มีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่ลามไฟ ติดตั้งง่ายไว้ใต้หลังคาโดยใช้คู่กับอลูมิเนียมฟอยล์เทป อีกทั้งยังเป็นฉนวนกันความร้อนราคาถูกกว่าฉนวนใยแก้ว จึงได้รับความนิยม ส่วนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ ควรเลือกแบบหุ้มฟอยล์ 2 ด้าน เพื่อป้องกันการติดไฟและช่วยสะท้อนความร้อนสูงสุด และติดตั้งคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อช่วยการดูดซับความร้อนได้ดียิ่งขึ้น : สินค้าฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ราคาถูก
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือ โฟม PE เป็นแผ่นโฟมกันความร้อนแบบหนา เหนียว นุ่ม พร้อมหุ้มแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน มีน้ำหนักเบา ทนแรงกระแทก ทนการกัดกร่อนของกรดและความชื้น ไม่ลามไฟ เป็นที่นิยมตามโรงงาน แต่ระยะหลังวงการวัสดุก่อสร้างเลือกติดตั้งไว้บนฝ้าและใต้โครงหลังคาบ้านมากขึ้น เพราะเป็นฉนวนกันความร้อนราคาค่อนข้างถูก ติดตั้งง่าย และป้องกันความร้อนได้ดี : สินค้าฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน PE
ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือ โฟม PS, โฟม EPS, โฟมขาว, แผ่นฉนวนสำเร็จรูป มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกพร้อมหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์ทั้งสองด้าน เป็นโฟมกันความร้อนและความเย็นได้ในตัวและไม่ลามไฟ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายง่าย มีจำหน่ายทั้งแบบแผ่นหรือติดคู่แผ่นยิปซัม และยังสามารถทำเป็นฝ้าเพดานหรือต่อเติมผนังบ้านได้โดยไม่ต้องติดฉนวนอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย
1.2. ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นและแบบพ่น
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam) หรือ โฟม PU หรือ โฟมเหลือง เป็นโฟมกันความร้อน ทนความชื้น ทนกรดด่าง กันสนิม อุดรอยรั่วซึม ไม่ลามไฟ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น โดยแบบแผ่นผลิตด้วยการฉีดสารเคมีโพลียูริเทนเคลือบแผ่นหลังคาแต่ละประเภท มีจำหน่ายทั่วไป-ติดตั้งง่าย ส่วนแบบพ่นใช้ฉีดบนฝ้า บนหลังคา และใต้หลังคา ติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้บริษัทช่างเชี่ยวชาญ
1.3.ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น
ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น หรือ เรียกว่า โฟมกันความร้อน เป็นที่นิยมสำหรับอาคารและโรงงาน และการติดตั้งฉนวนความร้อนราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ แต่ข้อดี คือ สามารถฉีดพ่นโฟมเข้าถึงได้ทุกจุดทุกซอกมุมตามต้องการ พร้อมยังใส่สารกันแมลงต่างๆจึงไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแผ่น ทั้งนี้ วัสดุกันร้อนประเภทนี้มี 2 ชนิด ได้แก่
  • ฉนวนกันความร้อนเซรามิคเซรามิคโค๊ตติ้ง (Ceramic Coating) เป็น "สีสะท้อนความร้อน" ผสมอะคริลิคและสารต้านทานรังสีและความร้อนสูง เป็นโฟมกันความร้อนฉีดพ่นเคลือบกระเบื้องหลังคา ดาดฟ้า และผนัง อีกทั้งยังยึดเกาะกับพื้นผิวได้ทุกชนิด ลดปัญหาการแตกร้าวรั่วซึม ใช้งานยาวนาน ปลอดภัยไม่ติดไฟ แต่ทำหน้าที่เพียงสะท้อนความร้อน จึงควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นควบคู่ หรือ ใช้ “สีกันความร้อน” เข้ามาช่วยป้องกันความร้อนจากผนังบ้าน เพื่อการป้องกันความร้อนสูงสุดให้กับบ้านของคุณ
    Ceramic coating can help to reduce cracking and leakage problems. it has a longer lifetime and non-flammable, but only serves to reflect the heat so you should install insulation sheet together or use “Heat resistant paint” to help prevent heat from the house.
  • ฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ (Cellulose) ผลิตจากเยื่อกระดาษธรรมชาติหรือเยื่อไม้ เป็นโฟมกันความร้อนสำหรับฉีดพ่นเพิ่มความหนาให้กับฝ้าหรือหลังคา สามารถรองรับทุกสภาพผิว พร้อมทั้งผสมสารป้องกันปลวกและแมลงและสารชะลอการลามไฟ ทนความร้อนสูง ทนกรดด่าง และกันเสียงสะท้อนได้ดี แต่ไม่ทนน้ำ ทั้งนี้ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษราคาค่อนข้างสูง ขึ้นอยู่กับระดับความหนาของเยื่อกระดาษ

คุณสมบัติค่ากันความร้อนของฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนมีค่ากันความร้อนระบุไว้ในฉลากของบรรจุภัณฑ์ แนะนำให้ดู 2 ค่าสำคัญ คือ ค่า R ค่าการต้านทานความร้อน (Resistivity) กับ ค่า K ค่าการนำพาความร้อน ( K-value หรือ conductivity) โดยฉนวนกันความร้อนที่ดี ควรมี ค่า R มาก และ ค่า K น้อย เพื่อประสิทธิภาพการกันความร้อนที่สูงสุด
ทั้งนี้ หากสนใจสินค้าฉนวนกันความร้อนราคาถูก : คลิ๊ก หรือ สินค้าวัสดุก่อสร้างหรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน : คลิ๊ก และสินค้ารายการอื่นๆพร้อมโปรโมชั่นและบริการหลังการขาย สามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ที่ Homepro Online หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูล Call Center Homepro 1284
 
บทความอื่นๆ
Featured Product
ทำความรู้จักกับ ‘สว่าน – Drill’ เครื่องมือช่างไฟฟ้าคู่บ้าน
Featured Idea
เลือกบันไดอย่างไรให้ดี ที่ใช้แล้วปลอดภัยและเข้าได้กับงานช่าง
Tips
เครื่องตัดหญ้าแบบไหนที่เหมาะกับเรา และทนต่อการใช้งาน
Tips
“อุปกรณ์ซักรีด” ส่วนสำคัญที่ทำให้ผ้าเราสะอาด
Featured Idea
เครื่องมือช่าง ที่ทุกบ้านไม่ควรพลาด!
Featured Idea
สารพัดรอบรู้เรื่องเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านไว้
Featured Product
หน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 หาซื้อได้ที่ไหน ใส่แบบใดแล้วปลอดภัย
Tips
วิธีทำความสะอาดเตารีดไอน้ำ ล้างคราบตะกรันได้ด้วยของใช้ในบ้าน
 
Chat icon