แต่งบ้านเย็น เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ใช้วัสดุกันความร้อน

การแต่งบ้านเย็น เป็นเรื่องง่ายๆและสำคัญ เพราะบ้านต้องรับความร้อนโดยตรงยิ่งกว่าเรา โดยเฉพาะอากาศร้อนแบบบ้านเราที่เรียกได้เลยว่า ร้อนมากและร้อนตลอดเกือบทั้งปี การเตรียมบ้านให้พร้อมรับความร้อนในประเทศไทยจึงเป็นปัจจัยหลัก ที่จะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นลงได้ โดยส่วนใหญ่มักจะจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็จะมีค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความร้อนจากการทำงานของเครื่องได้ส่งผลให้อากาศโดยรอบบ้านร้อนขึ้น ดังนั้นการเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับร้อนนี้จึงไม่ใช่แค่การคลายร้อนจากภายใน แต่ต้องเริ่มกันที่ตัวบ้านตั้งแต่ภายนอก เพื่อให้ภายในบ้านนั้นเย็นจริง โดยมีหลากหลายวิธีการแต่งบ้านเย็นและการใช้วัสดุกันความร้อนที่เจ้าของบ้านสามารถนำไปทำเอง

รู้จักเลือกนวัตกรรมวัสดุกันความร้อนรอบบ้าน

บริเวณพื้นรอบบ้าน สามารถใช้วัสดุกันความร้อนแบบบล็อกปูพื้น Cool Plus แทนการเทพื้นด้วยซิเมนต์ ซึ่งผิวด้านบนของ Cool Plus นั้นจะช่วยดูดซับน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ในตัวก้อน เมื่อมีความร้อนหรือแสงแดดมากระทบที่ตัวก้อน จะทำให้น้ำที่กักเก็บไว้ในตัวก้อน ค่อยๆ ระเหยกลายเป็นไอออกมาช่วยให้อุณหภูมิโดยรอบลดลงและรู้สึกเย็นสบาย ข้อแนะนำคือ ควรปูบล็อก Cool Plus โดยใช้พื้นที่ขั้นต่ำประมาณ 25 ตารางเมตรจากจุดศูนย์กลาง และโรยทรายบริเวณขอบทั้ง 4 ด้านที่เป็นรอยต่อระหว่างบล็อก เพื่อลดการกระแทก

เลือกใช้วัสดุกันความร้อนที่ช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อนได้จริง

70% ของความร้อนภายในบ้านมาจากหลังคา ดังนั้นจึงไม่ควรเสียดายเงินในการวางระบบและเลือกซื้อวัสดุที่ดีที่จะช่วยป้องกันความร้อนที่ไหลมาทางหลังคา บ้านใหม่ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาป้องกันความร้อนที่สามารถติดตั้งได้ในบ้านสร้างใหม่เท่านั้น ส่วนบ้านเก่าสามารถป้องกันความร้อนจากหลังคาด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อนจากโถงหลังคาไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านใช้ได้ทั้งบ้านเก่า และบ้านสร้างใหม่ ข้อแนะนำสำคัญคือ หลังคาทรงจั่วจะสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคาทรงแบน หรือหลังคาดาดฟ้า ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

เลือกวัสดุกันความร้อนป้องกันความร้อนจากหลังคา

เพราะหลังคาเป็นจุดรับแดดแบบเต็มพื้นที่ ควรติดฉนวนกันความร้อนช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่จะส่งผลสู่ภายในบ้าน ซึ่งฉนวนก็มีให้เลือกทั้งแบบที่เป็นวัสดุอลูมิเนียมฟอยล์ , โฟมพอลิเอทิลีน และแบบใยแก้ว
- ฉนวนกันความร้อนแบบอลูมิเนียมฟอยล์ ผิวฟอยล์จะสะท้อนความร้อนได้ดี ทนความชื้น ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย
- ฉนวนกันร้อนแบบโฟม คงสภาพเดิมแม้โดนน้ำหรือความชื้น ทนต่อกรดและด่าง น้ำหนักเบา แข็งแรง
- ฉนวนกันร้อนแบบใยแก้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าไมโครไฟเบอร์ ที่มีโพรงอากาศเล็กๆ ช่วยให้เก็บกักความร้อนได้ดี รวมถึงช่วยดูดซับเสียงได้ในระดับหนึ่งด้วย และสามารถทนไฟได้ประมาณ 300 องศาเซสเซียส

ทาสีกันร้อนให้ตัวบ้าน อีกทางเลือกยอดนิยมของวัสดุกันความร้อน

โดยรอบตัวบ้านก็สามารถรับความร้อนได้ไม่แพ้ความร้อนจากหลังคา การป้องกันความร้อนให้ตัวบ้าน ด้วยการทาสีให้ช่วยสะท้อนแสง จึงเป็นอีกตัวช่วยให้อุณหภูมิภายในลดลงได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นสีโทนอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสง เช่น สีเบจ สีครีม หรือสีขาว กลุ่มสีโทนอ่อนจะช่วยสะท้อนแสงได้ดีกว่าสีโทนเข้ม
- เลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างทำความสะอาดได้ เมื่อมีคราบสกปรกหรือคราบน้ำกระเด็น

ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าต่าง

- ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าต่าง
- ติดกันสาดช่วยบังแสง
- ลดแสงด้วยการติดกันสาดเฉียงประมาณ 45 องศา บริเวณหน้าต่างที่ได้รับแสงมากจะช่วยลดแสงที่เข้ามาในห้องได้ถึง 65-77%

วัสดุกันความร้อน หลีกไป แค่ปลูกต้นไม้ง่ายๆ ติดระแนงช่วยบังแสง

รอบบ้านควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดปริมาณแสงแดดที่จะส่องเข้าสู่ตัวบ้าน หรือติดระแนงไม้ ช่วยบังแสงในส่วนที่ต้องรับแสง ทั้งยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์จากออกซิเจนที่ไหลเวียนรอบบ้าน การทำสวนแนวตั้ง การทำน้ำตก น้ำพุ จะช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้นโดยตรง
 
บทความอื่นๆ
Featured Idea
ไม้ตกแต่งผนัง ไอเทมเพื่อบ้านสวย ติดตั้งง่าย แปลงโฉมบ้านได้ทันใจ
Tips
ทำความสะอาดร่องยาแนวดำและคราบกระเบื้อง ด้วยวิธีง่ายๆที่คุณคาดไม่ถึง
Featured Idea
'Crayola' สีสำหรับเด็ก เสริมพัฒนาการ ไร้สารพิษ ปลอดภัย ไม่เลอะบ้าน
Featured Idea
วิธีแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม ซ่อมหลังคารั่วง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณ
Tips
เหตุใดควรเลือกใช้ “พื้นไม้ลามิเนต” ทำให้บ้านคุณดูดีขึ้น
Tips
ประตูชนิดต่างๆ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
Tips
รู้จักหน้าต่างแต่ละชนิด เลือกติดตั้งให้เหมาะการใช้งาน
Tips
รู้จักกระเบื้องให้ดีกว่าเดิม ในสไตล์ใหม่ที่มากกว่าการใช้งาน
Tips
รู้?ประโยชน์ซีเมนต์กันซึม ช่วยป้องกันบ้านร้าวรั่วซึม
Tips
ข้อควรรู้? 'ลูกบิดประตู' ชนิดใด ใช้งานทนทาน เหมาะกับประตูบ้าน
Tips
ไม้ปูพื้น ทนทานรองรับหน้าฝนกันพื้นลื่น
Featured Product
“Digital door lock” ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ และติดตั้งอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน!?
Featured Idea
โทนสีแต่งบ้าน 2019 เนรมิตบ้านให้สวยก่อนใคร ไม่มีเอ้าท์
Featured Idea
เทคนิคเลือกกระเบื้องปูพื้นนอกบ้าน พร้อมวิธีปูกระเบื้องให้บ้านสวยและปลอดภัย
Featured Idea
เทคนิคดูแลบ้านหน้าฝนและแต่งบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยไร้ปัญหา
 
Chat icon