โฮมกูรู

วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน และพื้นกระเบื้อง พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ!

วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน และพื้นกระเบื้อง พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ!
วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน และพื้นกระเบื้อง ปัญหาใหญ่ที่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เพราะไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำซึมจากพื้นปูน หรือ น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง ก็ล้วนแล้วแต่แก้ไขได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาจจะต้องมีการทุบรื้อใหม่ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้นานโดยไม่หาวิธีแก้ไข แก้ไขล่าช้า หรือแก้ไขเรียบร้อยแล้วแต่ไม่ได้หาวิธีป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำก็อาจสร้างความเสียหายไปถึงโครงสร้างบ้านได้เลย รวมถึง วิธีแก้น้ำซึมใต้พื้น จากแต่ละสาเหตุก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป สร้างความสับสนให้ผู้อยู่อาศัยไม่มากก็น้อย HomeGuru จึงจะมาแนะนำ วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน และพื้นกระเบื้องโดยพิจารณาจากสาเหตุของปัญหากันครับ

• วิธีแก้น้ำซึมใต้พื้น จากสถานการณ์ต่าง ๆ

1. น้ำซึมที่พื้นในช่วงฝนตก 2. น้ำซึมที่พื้นแม้ฝนไม่ได้ตก 3. น้ำซึมที่พื้นในช่วงน้ำท่วม

• บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้าน

1. หลังคาบ้าน 2. ดาดฟ้าบ้านหรืออาคาร 3. พื้นบ้านชั้นบนบริเวณห้องน้ำ 4. พื้นบ้านชั้นล่าง 5. ผนังบ้าน วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน
วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน

• น้ำซึมที่พื้นในช่วงฝนตก

วิธีแก้ปัญหาน้ำซึมใต้พื้น เนื่องจากฝน เป็นวิธีง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากและถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ เพราะพอเข้าหน้าฝนแต่ละที หลาย ๆ คนคงเจอปัญหา น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง พื้นปูน หรือบริเวณผนังบ้านเป็นประจำ ซึ่งสาเหตุที่แน่ชัดก็มาจากน้ำฝนโดยตรงนั่นเอง โดยปัญหาน้ำรั่วซึมจากฝนมักจะเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อตามส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้าน เช่น ระแนงบังแดด หลังคากันสาด วงกบประตู-หน้าต่าง ฯลฯ หรือเกิดบริเวณรอยแตกร้าวบนผนัง ซึ่งบางกรณีน้ำก็สามารถแทรกตัวมาทางผนังแล้วซึมออกมาทางพื้นได้เช่นกันครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิธีแก้ปัญหาน้ำซึมใต้พื้น ในกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตกต้องทำควบคู่ไปกับการซ่อมแซมจุดรั่วซึมต่าง ๆ บนผนังบ้านไปด้วย โดยหากพบว่าผนังภายนอกบ้านมีรอยแตกร้าวก็ต้องทำการฉาบซ่อมแซมรอยร้าวนั้นด้วยปูนฉาบซ่อมอเนกประสงค์เสียก่อน แล้วจึงทาสีภายนอกทับ ส่วนผนังภายในบ้าน หากเกิดน้ำซึมจนทำให้สีทาภายในเกิดอาการบวมพอง ต้องทำการลอกสีทาภายในที่มีปัญหาออกแล้วค่อยทาสีภายในใหม่ หรือหากวัสดุผนังอย่างกระเบื้องผนังหรือวอลเปเปอร์ที่ติดตั้งไว้หลุดล่อน ก็ต้องแก้ไขโดยรื้อของเดิมออกและติดตั้งใหม่ให้เรียบร้อยครับ น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง
ซีเมนต์ซ่อมแซม ซีเมนต์ซ่อมแซม ตราจระเข้ ซีเมนต์ซ่อมแซม FERRO
ในจุดรั่วซึมบริเวณระหว่างวงกบประตู-หน้าต่าง กับผนังบ้านนั้นให้พิจารณาดูว่าวงกบเป็นวัสดุแบบใด หากเป็นวงกบที่ผลิตจากอลูมิเนียมต้องลอกซิลิโคนเดิมออกแล้วยาแนวด้วยซิลิโคนใหม่ แต่หากเป็นวงกบที่เป็นไม้ต้องจัดการทำความสะอาดแล้วอุดช่องว่างรอบ ๆ วงกบด้วยซิลิโคน หรือกาวโพลียูริเทน (กาว PU) ให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้มีช่องว่างให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ครับ กรณีที่ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการน้ำซึมจากใต้ดิน โดยเฉพาะบ้านที่ปลูกสร้างอยู่ต่ำกว่าระดับถนนสาธารณะ และมีรูปแบบการวางโครงสร้างพื้นชั้นล่างเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน แยกชิ้นส่วนโครงสร้างกับเสาและคานที่รับผนัง จึงมีพื้นที่รอยต่อระหว่างแผ่นพื้นกับคานและผนังที่น้ำสามารถซึมผ่านเข้ามาได้ กรณีนี้ วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือ น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา โดยการแก้ไขเบื้องต้นเพื่อชะลอน้ำซึมขึ้นมา อาจใช้วิธีอุดช่องว่างที่ว่านี้ด้วยกาวซิลิโคน, กาวโพลียูริเทน (กาว PU) หรือใช้โฟมโพลียูรีเทนสำหรับช่องว่างที่มีขนาดกว้างครับ แต่หาก วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือพื้นกระเบื้องแบบที่กล่าวมาในเบื้องต้นเอาไม่อยู่ อาจจะต้องมาพิจารณาเรื่องการยกระดับพื้นบ้านชั้นล่างให้สูงขึ้น โดยในกรณีที่เป็นพื้นคอนกรีตวางบนดินก็สามารถเทคอนกรีตทับพื้นเดิมได้ หรือสามารถเสริมคานและติดตั้งระบบพื้นแบบโครงสร้างเบา ซึ่งจะประกอบด้วยตงเหล็กและแผ่นซีเมนต์บอร์ด (ไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือไม้อัดซีเมนต์) ส่วนความหนาของการปรับระดับพื้นใหม่ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงระยะความสูงจากพื้นใหม่ถึงฝ้าเพดานนะครับ จะได้ไม่ทำให้ภายในบ้านมีระยะเพดานต่ำจนรู้สึกอึดอัดเกินไป น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง

• น้ำซึมที่พื้นแม้ฝนไม่ได้ตก

น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง หรือพื้นปูนตอนฝนตกนั้นย่อมเห็นได้ชัดว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก แต่หากเกิดปัญหาน้ำซึมใต้พื้นในช่วงที่ไม่ได้มีฝนตกนั่นหมายถึงภายในตัวบ้านกำลังเกิดปัญหา ณ จุดใดจุดหนึ่งอยู่ วิธีแก้น้ำซึมใต้พื้น ให้หายขาดจริง ๆ จึงต้องหาจุดที่เป็นปัญหาให้เจอเสียก่อน ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักจะเกิดในบริเวณใกล้กับท่อน้ำ หรืออาจเป็นพื้นที่ทางผ่านท่อประปาและท่อระบายน้ำ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นบริเวณพื้นบ้านเท่านั้น เพราะจุดรั่วซึมอาจจะอยู่ใต้โครงสร้างผนัง ซึ่งเมื่อน้ำรั่วซึมสะสมแล้วทำให้มีการเก็บน้ำและซึมออกมาทางพื้นได้เช่นกันครับ วิธีการหาจุดที่น้ำรั่วซึม หากเป็นปัญหาจากท่อประปารั่วจะสังเกตุได้จากมิเตอร์น้ำครับ เมื่อปิดน้ำทุกจุดแล้วมิเตอร์น้ำยังคงหมุนอยู่ก็แสดงว่ามีจุดที่มีปัญหาน้ำรั่วอยู่จริง ๆ แต่หากเป็นปัญหาท่อระบายน้ำรั่วอาจต้องพิจารณาจากแบบระบบสุขาภิบาลของบ้าน หรืออาจต้องคาดเดาเส้นทางการเดินท่อระบายน้ำที่มีอยู่ จากนั้นเมื่อหาตำแหน่งที่น้ำรั่วเจอแล้ว วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือพื้นกระเบื้องให้หายขาดต้องเริ่มทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน กรณีที่จำเป็นต้องซ่อมแซมโดยการทุบสกัดพื้นหรือผนัง ก็อาจลองหันมาพิจารณาการเดินท่อชุดใหม่เพื่อใช้แทนของเดิมก็ได้ และเมื่อซ่อมแซมจุดรั่วซึมเรียบร้อยแล้วก็ค่อยจัดการฉาบเก็บงาน และปูพื้นหรือผนังส่วนที่มีการทุบรื้อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมครับ แต่หากปัญหาการรั่วซึมที่เกิดขึ้นทำให้โครงสร้างพื้นหรือคานได้รับความเสียหาย ควรรีบซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนตามลักษณะความเสียหายนั้น ๆ เช่น หากคอนกรีตกะเทาะจนเห็นเหล็กเส้นที่เป็นสนิม ต้องจัดการขัดสนิมออกด้วยกระดาษทราย ทาน้ำยาแปลงสนิม (Rust Converter) แล้วค่อยฉาบ หรือใช้คอนกรีตสำหรับงานซ่อมแซม (Non-Shrink Grout) มาหล่อให้คอนกรีตอยู่ในสภาพเดิม แต่หากเป็นสนิมแบบที่กินเนื้อเหล็ก แนะนำให้วิศวกรเข้ามาช่วยตรวจสอบเพื่อซ่อมแซมบนพื้นฐานความปลอดภัยของโครงสร้างบ้านครับ วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน
ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง ปูนนอนชริ้งเกร้าท์

• น้ำซึมที่พื้นในช่วงน้ำท่วม

อีกหนึ่งสาเหตุของปัญหา น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง หรือพื้นปูนที่ค่อนข้างจะรับมือยาก อย่างในสถานการณ์น้ำท่วมที่หลาย ๆ พื้นที่ในประเทศไทยยังคงต้องเจออยู่เป็นระยะ เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านได้หาทุกวิถีทางมาป้องกันน้ำเข้าบ้านอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งการกั้นกระสอบทราย การก่ออิฐฉาบปูนอย่างแน่นหนา หรือการใช้วัสดุต่าง ๆ อย่างการใช้แผ่นเหล็ก อะลูมิเนียม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่พอจะกันน้ำได้มาปิดกั้นไว้ รวมถึงวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สุดท้ายก็ยังพบปัญหาน้ำซึมออกมาจากใต้พื้น ตามขอบเสา ขอบบัวผนัง หรือบางกรณีอาจเรียกได้ว่าเกิดน้ำผุดกันกลางบ้านเลยทีเดียว กรณีที่เกิด น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง หรือพื้นปูนในช่วงน้ำท่วม โดยที่ระดับน้ำภายนอกยังไม่ได้สูงพ้นระดับกระสอบทรายกันน้ำเข้าบ้านเลยด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะมวลน้ำที่ล้อมรอบตัวบ้านจะมีแรงดันที่สามารถซึมผ่านชั้นดินมาได้ เมื่อระดับน้ำในชั้นดินสูงขึ้นจนถึงระดับพื้นบ้านก็จะทำให้พื้นคอนกรีตเกิดรอยแตกร้าวได้ และมวลน้ำจากภายนอกก็สามารถแทรกซึมเข้ามาตามรอยแตกเหล่านั้นจนเกิดเป็นปัญหาน้ำซึม หรือผุดขึ้นมาจากพื้นบ้านนั่นเองครับ วิธีแก้น้ำซึมใต้พื้น การที่แรงดันน้ำเกิดการดันตัวขึ้นมาในลักษณะนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นปูนเกิดการแตกร้าว หรือ น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง และดันจนกระเบื้องหลุดล่อนหรือแตกร้าวเสียหายได้เช่นกัน แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะยังมี วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือพื้นกระเบื้องจากแรงดันน้ำท่วมที่หลายคนอาจยังไม่รู้ นั่นคือการเจาะรูในน้ำที่อยู่ใต้ดินสามารถผุดเพื่อระบายออกมาได้ในตำแหน่งที่กำหนด จากนั้นจึงใช้วิธีต่อท่อเพื่อให้น้ำเดินทางไหลไปรวมกันแล้วทำการสูบออก อาจเลือกเจาะไว้ตรงมุมห้องหรือจุดที่มองไม่ค่อยเห็นในบ้าน โดยตรงจุดที่เจาะพื้นนี้สามารถเลือกใช้ข้อต่อทองเหลือง หรือข้อต่อพีวีซีแบบเกลียวในพร้อมฝาจุกปิดหล่อปิดไว้เพื่อความเรียบร้อยเมื่อไม่ใช้งานได้เลยครับ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะเป็นการระบายน้ำออกไปแล้ว ยังเป็นการช่วยปล่อยแรงดัน เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นของบ้านยังคงแข็งแรงปลอดภัยอยู่ครับ วิธีแก้น้ำซึมใต้พื้น

• บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้าน

ในกรณีที่เป็นปัญหาจากภายในบ้าน นอกจากการแก้ไขจุดรั่วซึมต่าง ๆ ในบ้านแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ หลังจากการซ่อมแซมจุดรั่วซึมต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมจนไปสะสมอยู่บริเวณใต้พื้นบ้านแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ ขึ้นอีก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการหมั่นตรวจสอบตามจุดต่าง ๆ ของตัวบ้าน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นรอยต่อทั้งหลายที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหานี้ครับ

1. หลังคาบ้าน

จุดที่เสี่ยงต่อการรั่วซึมที่สุดจุดหนึ่งของบ้าน เนื่องจากต้องเป็นจุดแรกที่รับน้ำฝนโดยตรง ยิ่งหากแผ่นปูหลังคาผ่านการใช้งานมายาวนานหลายปีก็อาจมีปัญหากระเบื้องหลังคาแตก กระเบื้องมีรอยร้าว ปูนที่ใช้ยึดครอบกระเบื้องหลังคาแตกหัก หรืออุปกรณ์ที่ใช้ปูหลังคาเสื่อมสภาพ จนเป็นจุดที่ทำให้เกิดการรั่วซึมเข้ามาในบ้านได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดตั้งหลังคาแบบผิดวิธีและไม่ได้มาตรฐานด้วยครับ

2. ดาดฟ้าบ้านหรืออาคาร

ดาดฟ้า เป็นอีกหนึ่งจุดที่มักจะเกิดการรั่วซึมบริเวณรอยต่อของดาดฟ้าที่ชนกับผนังบ้าน หรืออาจเป็นเพราะดาดฟ้ามีรอยร้าว เมื่อฝนตกจึงเกิดการรั่วซึมผ่านทางรอยต่อ หรือรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นครับ ดังนั้น จึงต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบดาดฟ้าอยู่อย่างสม่ำเสมอด้วยครับ
กาวยาแนว กาวยาแนว กาวยาแนว

3. พื้นบ้านชั้นบนบริเวณห้องน้ำ

เป็นอีกจุดหนึ่งที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง แต่พื้นบ้านชั้นบนถือเป็นจุดยอดฮิตในบ้านที่มักจะเกิดการรั่วซึม โดยเฉพาะจากระบบน้ำในบริเวณที่เป็นพื้นห้องน้ำชั้นบน และมักจะส่งผลทำให้เกิดน้ำซึมลงมาที่ชั้นล่างโดยตรง ทำให้เกิดคราบสกปรกสะสม ความชื้น หรือเชื้อรา ที่หากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ จึงไม่ควรละเลยในการแก้ไขซ่อมแซมอย่างทันท่วงทีเลยครับ

4. พื้นบ้านชั้นล่าง

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วทั้งหมดว่าพื้นบ้านชั้นล่างเป็นจุดที่มีปัญหาน้ำซึมใต้พื้นที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และการเกิดการรั่วซึมจากน้ำซึมใต้ดินขึ้นมา จะทำให้พื้นบริเวณที่เป็นปัญหาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งอาจรวมไปถึงความเสียหายในจุดที่มองไม่เห็นอย่างโครงสร้างภายในของบ้าน ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวบ้านโดยตรงเลยครับ
กระเบื้องพื้น กระเบื้องพื้น กระเบื้องพื้น

5. ผนังบ้าน

ผนังบ้าน เป็นจุดที่เกิดการรั่วซึมได้ง่าย ส่วยใหญ่มักเกิดการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบประตู-หน้าต่าง หรือรอยแตกของมุมวงกบ รวมถึงรอยแตกร้าวบนผนังที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการก่อสร้างที่ผิดวิธี เป็นต้น วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน ซึ่งหากใครที่พบปัญหาจุดรั่วซึมต่าง ๆ ภายในบ้าน แต่ไม่สะดวกในการซ่อมแซมแก้ไขด้วยตัวเอง หรือจะเป็นปัญหาเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้านก็สามารถติดต่อสอบถามแนวทางการแก้ไข และบริการจากช่างมืออาชีพจาก Home Service by HomePro ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้เลยครับ Home Service สอบถามและดูข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ • Facebook : Home Service by HomePro • Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice • Call Center : 1284 • Mobile app : https://bit.ly/372RTMT • โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service : https://bit.ly/3x8rqIj วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน จะเห็นได้ว่า วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือพื้นกระเบื้องนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับที่มาที่ไปของปัญหาว่าเกิดจากการรั่วซึมเนื่องจากโครงสร้างบ้านมีการแตกร้าว ทำให้น้ำไหลซึมเข้าบ้านช่วงหน้าฝน เกิดจากการรั่วซึมของจุดต่าง ๆ ภายในระบบน้ำใต้โครงสร้างบ้าน หรือเกิดจากแรงดันจากมวลน้ำที่ดันเข้ามาภายในบ้านในสถานการณ์น้ำท่วมจนเกิด น้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง และพื้นปูนกันแน่ แต่ทั้งนี้หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้โครงสร้างบ้านเกิดความเสียหาย HomeGuru ก็แนะนำให้ติดต่อวิศวกรเข้ามาตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และใช้ช่างมืออาชีพที่ไว้ใจได้ช่วยแก้ปัญหาให้ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวบ้านและสมาชิกทุกคนในบ้านด้วยครับ
สอบถามบริการเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service : https://bit.ly/3Bj8Yzs