โฮมกูรู

สุขภัณฑ์ กับส่วนประกอบภายในที่ไม่ควรมองข้าม

สุขภัณฑ์ กับส่วนประกอบภายในที่ไม่ควรมองข้าม

สุขภัณฑ์ หรือ โถส้วม เป็นหนึ่งในไอเทมสำคัญที่จำเป็นสำหรับ ห้องน้ำ ทุกบ้าน! เพราะถือเป็นสิ่งที่มีหน้าที่ในการรองรับของเหลว รวมทั้งจ่ายของเหลว น้ำสกปรก น้ำเสีย หรือสิ่งสกปรกทั้งหลายที่มาจากการขับถ่ายในทุกวัน โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ ชักโครก คือจะส่งสิ่งปฏิกูลเหล่านี้ไปสู่แหล่งกำจัดของเสีย ระบบระบายน้ำ หรือในท่อระบายน้ำที่ได้รับอนุญาตให้ระบายสิ่งสกปรกออกไปได้ จึงถือได้ว่าอะไหล่สุขภัณฑ์ทุกชิ้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอะไหล่หม้อน้ำ ที่เป็นส่วนประกอบหลักของการระบายสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไป เพราะฉะนั้น HomeGuru จึงขอพาไปทำความรู้จักกับส่วนประกอบภายในหม้อน้ำของ สุขภัณฑ์ และการใช้งานกันเลย

อะไหล่สุขภัณฑ์

สุขภัณฑ์ กับ 9 ส่วนประกอบภายในที่ไม่ควรมองข้าม

1. วาล์วน้ำเข้า

วาล์วน้ำเข้า คือ อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งใน ชักโครก ที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการเปิด-ปิดน้ำที่จะเข้าสู่หม้อน้ำ หรือถังพักน้ำตามการใช้งาน เพื่อช่วยควบคุมปริมาณน้ำที่เติมใน โถส้วม ได้อย่างพอเหมาะ โดยระบบจะทำงานต่อเมื่อน้ำในหม้อพักน้ำมีน้อยกว่าที่ถูกตั้งค่าไว้ ซึ่งหลักการเลือกซื้อวาล์วน้ำเข้า คือ ต้องตรวจสอบ สุขภัณฑ์ และรุ่นให้ชัดเจน เนื่องจากขนาดของ ชักโครก แต่ละตัวมีขนาดที่ไม่เท่ากัน

วาล์วน้ำเข้า

วาล์วน้ำเข้า วาล์วน้ำเข้า วาล์วน้ำเข้า

2. น็อตยึดหม้อน้ำ

น็อตยึดหม้อน้ำ หรือน็อตยึดถังพักน้ำ มีหน้าที่เป็นตัวยึดระหว่างถังพักน้ำกับตัว โถส้วม เข้าไว้ด้วยกัน เป็นอีกหนึ่งอะไหล่หม้อน้ำที่เหมาะสำหรับมีไว้เพื่อเป็นอะไหล่ในยามฉุกเฉิน

น็อตยึดหม้อน้ำ

3. สายน้ำดี ชักโครก

สายน้ำดี ชักโครก แบบสเตนเลสกำลังนิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะมีความทนทานในเรื่องของแรงดันน้ำที่สูงกว่าสายน้ำดีแบบอื่น ๆ ซึ่งสายน้ำดีชักโครกจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางเดินน้ำเข้าสู่ โถส้วม สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อสายน้ำดีชักโครก คือต้องพิจารณาค่าความทนทานต่อแรงดันน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งานของพฤติกรรมการใช้ ห้องน้ำ ในแต่ละบ้าน หรือสามารถใช้วิธีการเลือกซื้อสายน้ำดีสำหรับ ห้องน้ำ ดังต่อไปนี้

3.1 ตรวจสอบระยะจากสต๊อปวาล์วถึงทางน้ำเข้าให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม ไม่ควรตึงหรือหย่อนเกินไป เพราะอาจทำให้สายน้ำดีพับ บิด หรืองอ 

3.2 ตรวจสอบบริเวรหัวน็อตทั้ง 2 ด้าน เพื่อดูขนาดของสายน้ำดี ซึ่งในปัจจุบันสายน้ำดีชักโครกจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • ขนาดหัวน็อต ½ นิ้ว ทั้ง 2 ด้าน เหมาะสำหรับใช้กับ โถส้วม รุ่นใหม่
  • ขนาดหัวน็อตด้านหนึ่งมีขนาด ¾ นิ้ว และอีกด้านหนึ่งมีขนาด ½ นิ้ว เหมาะสำหรับใช้กับ โถส้วม รุ่นเก่า

สายน้ำดี

สายน้ำดี สายน้ำดี สายน้ำดี

4. ยางรองหม้อน้ำ

ยางรองหม้อน้ำเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบถังพักน้ำเข้ากับ โถส้วม ซึ่งหากหงายถังพักน้ำขึ้นมาจะเห็นปลายท่อทางออกของน้ำจากถังพักน้ำที่จะมียางรองถังพักกันน้ำรั่วซึมนั่นเอง

ยางรองหม้อน้ำ

5. ชุดกันกลิ่น

ชุดกันกลิ่น ปะเก็นแว๊ก หรือปะเก็นขี้ผึ้ง เป็นตัวช่วยเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ใน ห้องน้ำ โดยเฉพาะ โดยจะทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างรูที่อยู่ใต้โถชักโครก กับท่อระบายสิ่งปฏิกูล เหมาะสำหรับติดตั้งกับโถสุขภัณฑ์ใน ห้องน้ำ เพื่อป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยหลักการเลือกซื้อที่แนะนำ คือ ควรตรวจสอบรูบริเวณฐานชักโครก เพื่อดูเส้นผ่านศูนย์กลางของรู เพื่อที่จะได้เลือกซื้ออย่างถูกต้อง

ชุดกันกลิ่นชักโครก

ชุดกันกลิ่น ชุดกันกลิ่น ชุดกันกลิ่น

6. ลูกกบเปิด-ปิดน้ำ

ลูกกบ ลูกยาง หรือฝากบ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ที่มีหน้าที่เปิด-ปิดรูปล่อยน้ำให้ไหลลงสุขภัณฑ์ โดยจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการกด ชักโครก ใช้งานเท่านั้น

ลูกกบเปิดปิดน้ำ

7. วาล์วน้ำลง

วาล์วน้ำลง คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการนำน้ำที่ถูกเก็บจากวาล์วนำเข้าลงมาในถังพักน้ำ  และไหลผ่านจากหม้อพักน้ำลง สุขภัณฑ์ โดยจะทำงานเมื่อมีการกดชักโครกใช้งานเท่านั้น ซึ่งหลักการเลือกซื้อนั้นแนะนำให้ตรวจสอบสุขภัณฑ์และรุ่นให้ชัดเจน เนื่องจากขนาดของ ชักโครก แต่ละตัวมีขนาดที่ไม่เท่ากัน

วาล์วน้ำลง

8. สายโซ่

สายโซ่เป็นอุปกรณ์ต่อกับปุ่มเปิด-ปิดสุขภัณฑ์ที่ใช้ดึงลูกกบเพื่อควบคุมการเปิด-ปิดน้ำเข้าสู่โถสุขภัณฑ์ โดยสายโซ่จะสามารถปรับความยาวได้ด้วยการตัดตามความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้กับมือกดแบบปัดหน้าและปัดข้างได้เช่นกัน

สายโซ่

9. มือกดน้ำ

อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย คือ มือกดน้ำ ที่เป็นอุปกรณ์เปิด-ปิดสุขภัณฑ์ ซึ่งควรต้องตรวจสอบดูก่อนว่าโถสุขภัณฑ์ใน ห้องน้ำ ที่ใช้อยู่นั้นเป็นมือกดน้ำแบบไหน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งประเภทของมือกดน้ำได้ 3 ประเภท คือ มือกดน้ำแบบกดบน มือกดน้ำแบบกดข้าง และมือกดน้ำแบบกดหน้า ก่อนจะเลือกซื้อมือกดน้ำจึงต้องตรวจสอบสุขภัณฑ์และรุ่นที่ใช้ให้ชัดเจนก่อนการเลือกซื้อ

มือกดน้ำ

และทั้งหมดนี้คือ อะไหล่ชิ้นเล็กชิ้นน้อยของ สุขภัณฑ์ ที่ต่างก็ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ทำงานแบบสัมพันธ์กันเป็นระบบ อะไหล่สุขภัณฑ์ทุกชิ้นจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวโถสุขภัณฑ์เลย หากมีอะไหล่ชิ้นส่วนไหนชำรุดหรือหมดอายุการใช้งานไปตามกาลเวลา HomeGuru ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มองหาวิธีการซ่อมแซมสุขภัณฑ์ใน ห้องน้ำ และอย่าลืมว่าทั้งอะไหล่สุขภัณฑ์และสินค้าเพื่อบ้านแบบครบวงจรมีให้ช้อปกันได้ง่าย ๆ แค่คลิก HomePro Online