โฮมกูรู

ท่อน้ำแตก ภัยเงียบที่ต้องป้องกันก่อนค่าน้ำพุ่ง

ท่อน้ำแตก ภัยเงียบที่ต้องป้องกันก่อนค่าน้ำพุ่ง
ท่อน้ำแตก จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรเมื่อรู้ปัญหา และสาเหตุเมื่อสายเกินแก้ รู้ตัวอีกทีค่าน้ำประปาก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติเพราะไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ แถมเหล่าบรรดาคุณแม่บ้าน และคุณพ่อบ้านก็ไม่ได้สังเกตความผิดปกติระหว่างการใช้น้ำในระหว่างวันว่ามีจุด ท่อประปาแตก ภายในบ้านหรือไม่ วันนี้ HomeGuru มีวิธีตรวจเช็คท่อประปารั่วซึม และอุปกรณ์สำหรับใช้ตรวจสอบท่อประปารั่วเบื้องต้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลังท่อน้ำแตกมาฝากครับ ท่อน้ำแตก

3 จุดต้องระวัง ท่อน้ำแตก

การตรวจเช็คจุดรั่วของท่อน้ำประปา เพื่อป้องกันปัญหาท่อน้ำแตกจำเป็นต้องตรวจเช็คท่อประปาแต่ละจุดภายในบ้าน ด้วยวิธีการง่ายๆ ครับ เพียงปิดวาล์วน้ำที่มีอยู่ภายในบ้าน โดยแนะนำให้ปิดบริเวณชั้นบนก่อนเพื่อตรวจเช็ค แล้วสลับกับชั้นล่าง เมื่อปิดวาล์วน้ำแล้วให้สังเกตที่มิเตอร์ว่า ตัวเลขวัดปริมาณการใช้น้ำยังวิ่งอยู่หรือไม่ หากยังวิ่งอยู่ให้สันนิษฐานได้เลยครับว่าอาจจะมีจุด ท่อแตก เบื้องต้นให้ตรวจสอบท่อน้ำบริเวณพื้น ภายในบ้านเสียก่อน แล้วจึงไล่ตรวจสอบท่อประปา 3 จุดดังนี้

ตรวจเช็ค ท่อประปาแตกในผนัง

หากบริเวณผนังบ้าน หรือบริเวณพื้นบ้านที่อยู่ติดกับกำแพงมีความชื้น น้ำซึม และน้ำหยดเปียก โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้ตรวจสอบท่อประปาที่ผนัง และที่พื้นได้เลยครับ เพราะอาจเกิดการรั่วซึม หรือแตก หากผนังไม่ได้ถูกทับซ้อนอีกชั้น เจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง แต่หากผนังบ้านเป็นผนังซ่อน การตรวจหาจุด ท่อน้ำแตก จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการตรวจสอบและซ่อมแซม ท่อน้ำแตก

ตรวจเช็ค ท่อประปาแตกใต้พื้น

จริงๆ แล้วการตรวจสอบ ท่อประปาแตกใต้พื้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากนะครับเพราะท่อประปาใต้ดิน ไม่สามารถมองเห็นได้ หากเกิดการแตก รั่ว จำเป็นต้องรื้อพื้นเพื่อซ่อมแซม แต่ก็มีวิธีสังเกตที่ง่ายและทุกบ้านสามารถทำได้ด้วยตนเองนะครับ เพียงแค่เดินตรวจสอบบริเวณภายนอกบ้าน และสนามหญ้าว่ามีน้ำรั่วซึม น้ำขัง มีตะไคร่ขึ้นหรือไม่ หรือพื้นดินเกิดการทรุดตัวมากกว่าบริเวณอื่นๆ ถ้าหากมี อาจจะมี ท่อประปาแตก รั่วบริเวณใต้พื้นดินได้ครับ
ท่อประปา ข้องอ 90-บาง ข้อต่อสามทาง-หนา
ท่อประปาแตกใต้พื้น

ตรวจเช็ค ท่อประปาแตกในเพดาน

การตรวจเช็คท่อประปาบริเวณเพดาน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเช่นเดียวกับบริเวณผนัง และบริเวณพื้นใต้ดินนะครับ แต่หากบ้านไหนมีแปลนการเดินท่อประปาก็จะสามารถช่วยให้การตรวจสอบจุดท่อประปาเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันท่อประปาจะถูกซ่อนไว้ใต้เพดานเพื่อช่วยให้บ้านสวยยิ่งขึ้น ยกเว้นบ้านสไตล์ลอฟ์ท ที่เน้นปูนเปลือย ขั้นตอนการตรวจสอบก็ไม่ยากครับสำหรับโครงการบ้านจัดสรรไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม สามารถเปิดช่องเซอร์วิสที่อยู่บริเวณฝ้าเพดานในส่วนห้องน้ำ บริเวณทางเดิน หรือหากเป็นบ้านเก่าก็สามารถเปิดฝ้าเพดานเพื่อตรวจสอบจุด ท่อประปาแตก โดยดูที่ข้อต่อ และสายท่อว่ามีน้ำรั่วหรือไม่ โดยนำผ้า หรือกระดาษทิชชูไปพันบริเวณข้อต่อ แล้วเปิดน้ำ หากผ้าเปียกแสดงว่าบริเวณดังกล่าวเกิดการรั่วซึม จำเป็นต้องรีบแก้ไขทันที ท่อประปาแตกในเพดาน

วิธีเช็คท่อประปารั่วซึม

ค่าน้ำประปาสูงขึ้นแบบหาสาเหตุไม่ได้ หนึ่งในเหตุผลที่อาจเกิดจาก ท่อน้ำแตก มีน้ำรั่วซึมตลอดทั้งวัน โดยที่เจ้าของบ้านไม่รู้ตัว และไม่ทันได้สังเกต เมื่อบิลค่าน้ำมาก็อาจทำให้หงายเงิบได้เหมือนกันนะครับ ดังนั้นให้สังเกตตัวเลขที่มาตรแสดงปริมาณน้ำประปาว่ายังคงเดินอยู่เรื่อยๆ ขณะที่ไม่มีใครในบ้านใช้น้ำหรือไม่ หากเดินอยู่ให้รีบหาจุดท่อน้ำแตกเผื่อไว้ได้เลยครับ ปั๊มน้ำทำงานอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ไม่ได้เปิดใช้น้ำปั๊มน้ำจะหยุดพักการทำงาน แต่หากท่อน้ำแตกหรือรั่ว น้ำในถังพักน้ำจะมีปริมาณลดลง หากมีรอยรั่ว หรือรอยแตกของท่อน้ำมาก ก็จะยิ่งทำให้ปั๊มน้ำ ทำงานหนักหรือได้ยินเสียงปั๊มน้ำทำงานทั้งวันจนสร้างความรำคาญใจ และยิ่งไปกว่านั้นคือ ค่าใช้จ่ายของค่าน้ำ และค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นตามมาอีกด้วยครับ ท่อน้ำแตก พื้นดินภายนอกรอบบ้านเกิดการทรุดตัว และมีน้ำขังเปียกพื้นอยู่ตลอดเวลา จนเกิดเป็นคราบตะไคร่น้ำ เนื้องจากพื้นที่ส่วนดังกล่าวมีความชื้น เกิดการสะสมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาวคือ พื้นดินอ่อนตัว และทรุดตัว จนทำให้เกิดปัญหาบานปลาย และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่สูงขึ้นครับ ดังนั้น หากเห็นพื้นดินมีน้ำขัง ให้สันนิษฐานได้ว่า อาจมีจุด ท่อประปาแตกใต้พื้น ท่อประปาแตกใต้พื้น น้ำไหลเบาลง เมื่อเปิดก๊อกน้ำทำธุระต่างๆ เช่น อาบน้ำ ล้างจาน แล้วรู้สึกน้ำไหลเบา ไหลอ่อน อาจเป็นเพราะแรงดัน และปริมาณน้ำส่งไปไม่ถึงก๊อกน้ำ หรือไปถึงน้อยลง ซึ่งเกิดจากรอยรั่ว หรือ ท่อน้ำแตก ระหว่างทางได้เช่นกันครับ พบรอยคราบน้ำ แม้ในวันที่ฝนไม่ตก แต่แหงนหน้าขึ้นไปมองเพดาน หรือผนังบ้าน กลับพบรอยคราบน้ำ และน้ำหยดอยู่เป็นประจำทุกวัน ให้รีบตรวจเช็คท่อประปาบริเวณเพดานทันทีนะครับ เพราะอาจเกิดปัญหา ท่อประปาแตกในเพดาน เหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ผนังบ้าน ฝ้าเพดานเกิดความเสียหาย และน้ำไหลหยดระหว่างฝ้าเพดานแต่ละช่องได้ครับ ท่อประปาแตกในเพดาน

อุปกรณ์ตรวจสอบท่อประปารั่ว

เกจวัดแรงดันน้ำ (Pressure Guage) เป็นเครื่องมือหลักในการวัดแรงดันน้ำในเส้นท่อ โดยสามารถระบุค่าแรงดันออกมาเป็นหน่วยต่างๆ ได้ครับ มีให้เลือกใช้ทั้งแบบธรรมดา และแบบน้ำมัน การเลือกใช้งานเพียงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้ เช่น หากต้องการวัดน้ำ แนะนำให้เลือกย่านวัดต่ำ และมีความละเอียดที่ช่วงวัดสูง Water Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การตรวจการรั่วของน้ำง่ายขึ้น เพราะสามารถแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่าย ซึ่งตัวเครื่องจะแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้งานนำตัวเครื่องไปตรวจหาจุดที่สงสัยว่าน้ำมีน้ำรั่วหรือไม่
เทปพันเกลียว น้ำยาประสานท่อ ใส มิเตอร์น้ำทองเหลือง
ท่อน้ำแตก การตรวจสอบ ท่อน้ำแตก จุดรั่วของท่อประปา ไม่ว่าจะบริเวณเพดาน ใต้พื้นดิน หรือจุดอื่นๆ ที่เจ้าของบ้านมองไม่เห็น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยตรวจสอบ หรือหากบ้านไหนไม่มั่นใจ และไม่มีความชำนาญการในด้านนี้เลย การมองหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหา ท่อประปาแตก น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ หรือบางครั้งการมองหา Emergency Service หรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่จะช่วยแก้ปัญหา ท่อประปาแตก ในยามวิกาลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่แพ้กันครับ ท่อแตก ปัญหา ท่อประปาแตก เป็นหนึ่งในปัญหาที่คาดการณ์ไม่ได้ การตรวจเช็คตามที่ HomeGuru กล่าวไว้ข้างต้น เป็นวิธีที่ทุกๆ บ้านสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่บานปลายตามมาทีหลังนะครับ โดยเฉพาะปัญหาค่าน้ำประปาที่จะพุ่งสูงขึ้นจนน่าปวดหัวกันทีเดียว