โฮมกูรู

5 เคล็ดลับเลือก รางน้ำฝน ตัวช่วยระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน!

5 เคล็ดลับเลือก รางน้ำฝน ตัวช่วยระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน!
รางน้ำฝน หรือ รางน้ำ เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญของบ้านทุกหลังที่จำเป็นต้องมีการติดตั้ง เพราะเป็นประโยชน์ในการจัดการปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละครั้ง ให้ไหลลงต่ำสู่ท่อระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงป้องกันการกระเด็น และการสาดของน้ำฝนจากบนหลังคาที่อาจส่งผลให้พื้นดิน พื้นหญ้าเกิดความเสียหาย ซึ่งรางน้ำฝน มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน เช่น รางน้ําฝนpvc , รางน้ําฝนสเตนเลส หรือ รางน้ําฝนเมทัลชีท แต่จะเลือกใช้งานรางน้ำฝนประเภทไหนเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบบ้าน HomeGuru มี 5 เคล็ดลับเลือก รางน้ำฝน ตัวช่วยระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน! รวมถึงวิธีการดูแลรักษาให้รางน้ำฝนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาบอกเล่าให้กับทุกบ้านได้ทราบกันครับ

5 เคล็ดลับเลือก รางน้ำฝน ตัวช่วยระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน!

• ประเภทของรางน้ำฝน เลือกใช้งานให้เหมาะสม • ขนาดพื้นที่หลังคาบ้าน สัมพันธ์กับขนาดรางน้ำฝน • ความคุ้ม และงบประมาณ • การติดตั้งใช้งาน • เหมาะกับดีไซน์ และความสวยงามของบ้าน • รางน้ำฝน ดูแลอย่างไรให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รางน้ําฝนสแตนเลส

1. ประเภทของรางน้ำฝน เลือกใช้งานให้เหมาะสม

รางน้ำฝนมีให้เลือกใช้งานหลากหลายวัสดุ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความต้องการของเจ้าของบ้าน ตั้งแต่ รางน้ำฝนสังกะสี รางน้ำฝนอะลูมิเนียม รางน้ำฝนสแตเลส รางน้ำฝนไวนิล เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทก็มีรูปแบบ ความคงทน และราคาที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณาก่อนติดตั้ง หากไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้ดีเสียก่อนครับ รางน้ำฝน

• รางน้ำฝนสังกะสี

บ้านสมัยก่อนจะนิยมติดตั้ง รางน้ำฝนสังกะสี มากที่สุดเพื่อรองรับน้ำฝนไว้สำหรับใช้ และดื่ม เพราะด้วยราคาที่ไม่แพง น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย แต่ข้อด้อยของรางน้ำฝนสังกะสี คือ มักจะเกิดสนิมอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อฝนตกมากระทบกับรางน้ำจะมีเสียงดังตลอดเวลา

• รางน้ำฝนอะลูมิเนียม

ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะกับดีไซน์ของบ้านได้ เนื่องจากมีความโดดเด่นสวยงาม หลากหลายสี น้ำหนักเบา คงทนไม่เป็นสนิมง่าย และที่สำคัญหมดกังวลปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม

• รางน้ำฝนสเตนเลส

รางน้ำฝนสเตนเลส มีให้เลือกใช้งานหลากหลายเกรด แต่เพื่อความคงทนแข็งแรง ป้องกันการเกิดสนิม แนะนำให้เลือกใช้เกรด 304 ครับ รางน้ำฝนสเตนเลส มีความสวยงามเมื่อนำไปติดตั้ง เพราะตัววัสดุเป็นสีธรรมชาติ จึงเป็นที่นิยมใช้ของหลาย ๆ บ้าน แม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
รางน้ําฝนpvc รางน้ําฝนสแตนเลส รางน้ําฝนเมทัลชีท

• รางน้ำฝนไวนิล

เพราะด้วยไวนิล เป็น วัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนน้ำ ไม่เกิดสนิม จึงกลายเป็นวัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุก่อนสร้างในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ รางน้ำฝนไวนิล ส่วนใหญ่จะเป็นแบบสำเร็จรูป ซึ่งได้มาตรฐาน มีให้เลือกหลากหลายสี เช่น สีขาว สีน้ำตาลเข้ม เพื่อให้เหมาะกับชายคาบ้านที่เน้นดีไซน์เรียบง่าย

• รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส

รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส เป็นรางน้ำที่ค่อนข้างมีความทนทานที่สูง ยากต่อการเกิดสนิม และมีความสวยงาม หลาย ๆ บ้านจึงนิยมใช้ แม้จะมีราคาที่ค่อนสูง และต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในการติดตั้งอีกด้วยครับ

• รางน้ำฝน เหล็กเคลือบกัลป์วาไนซ์

เหล็กเคลือบกัลป์วาไนซ์ คือเหล็กเคลือบโลหะ ที่มีส่วนผสมระหว่างสังกะสี และอะลูมิเนียม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูง โดยเฉพาะป้องกันการกัดกร่อน สนิม ทนต่อแรงกระแทก และทนต่อทุกสภาพอากาศ มีให้เลือกใช้หลากหลายสี และที่สำคัญคือติดตั้งใช้งาน และดูแลรักษาง่าย

2. ขนาดพื้นที่หลังคาบ้าน สัมพันธ์กับขนาดรางน้ำฝน

รางน้ำฝน ก่อนการเลือก รางน้ำฝน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเลย คือ ขนาดของพื้นที่หลังคาบ้าน เพื่อให้เลือกใช้งานรางน้ำฝนได้ในขนาดที่เหมาะสม ซึ่งรางน้ำฝนไม่ว่าจะเป็น รางน้ำฝนสเตนเลส รางน้ำฝนเมทัลชีท มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 4-6 นิ้ว ซึ่งบ้านที่มีหลังคาขนาดใหญ่ก็แนะนำให้เลือกใช้ รางน้ำฝนที่มีขนาดตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไป เพื่อรองรับน้ำฝนในกรณีที่ฝนตกหนัก แต่หากหลังคาบ้านมีความยาวมาก ๆ รางน้ำฝนควรเจาะรูระบายน้ำเพิ่ม เพื่อให้นำระบายได้ทัน ไม่เอ่อล้นลงสู่พื้นครับ

3. ความคุ้ม และงบประมาณ

รางน้ําฝนไวนิล ในด้านความคุ้มค่าการใช้งาน หากต้องการรางน้ำฝนที่สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน แนะนำให้เลือกติดตั้ง รางน้ำฝนอะลูมิเนียม เพราะมีความคงทน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ารางน้ำฝน รางน้ําฝนpvc , รางน้ําฝนสเตนเลส รางน้ําฝนเมทัลชีท และรางน้ำฝนประเภทอื่น ๆ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับวัสดุของรางน้ำฝนแต่ละประเภท และอย่าลืมคำนวณเรื่องค่าติดตั้งด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้ประเมินราคาทั้งหมดก่อนการติดตั้ง และใช้งาน

4. การติดตั้งใช้งาน

รางน้ําฝน pvc การติดตั้ง รางน้ำฝน จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญการเฉพาะทาง เพื่อป้องกันการรั่วซึมของรางน้ำฝน และความเสียหายในระหว่างการใช้งาน ซึ่งส่งผลให้ต้องรื้อติดตั้งใหม่ เสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ในกรณีที่ต้องการติดตั้งรางน้ำฝนในบริเวณโรงจอดรถ ก็อาจจะเลือกติดตั้งรางน้ำฝนด้วยตนเองได้ แต่ควรเลือกรางน้ำฝนที่ติดตั้งง่าย อย่าง รางน้ำฝนสังกะสี ที่ใช้การแขวนกับจันทัน หากมีอุปกรณ์ในการติดตั้งครบ ก็สามารถติดตั้งได้ด้วยตนเองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งได้ครับ

5. เหมาะกับดีไซน์ และความสวยงามของบ้าน

รางน้ำฝน เพราะภายนอกบ้านคือ หน้าตาของผู้อยู่อาศัย การเลือกอุปกรณ์ตกแต่ง และใช้งานติดตั้งภายนอกบ้านจึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งในแง่ฟังก์ชันการใช้งาน และความสวยงาม รางน้ำฝนก็เช่นกัน ควรเลือกรางน้ำฝนที่มีสี และวัสดุที่เหมาะสมกับตัวบ้าน เช่น รางน้ำฝนอะลูมิเนียม รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส เพราะมีหลากหลายสีให้เลือกใช้งาน และมีความคงทน แข็งแรง มากกว่ารางน้ำฝนประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะรางน้ำฝนสังกะสีครับ

รางน้ำฝนดูแลอย่างไรให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

1. ตรวจเช็กสภาพรางน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็น รางน้ำฝนเมทัลชีท รางน้ำฝนสเตนเลส หรือรางน้ำฝนจากวัสดุประเภทอื่น ๆ ควรหมั่นตรวจเช็กการทำงานของรางน้ำฝนว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่ และระหว่างรอยต่อและตะขอที่แขวนรางน้ำฝนอยู่นั้น ยังมีความแข็งแรงหรือไม่ เพราะหากไม่สังเกตุ เมื่อเกิดพายุฝนตกหนัก อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้

2. ทำความสะอาดรางน้ำฝนอยู่เป็นประจำ

รางน้ำฝน แม้ฝนจะไม่ได้ตกตลอดทั้งปี แต่ก็จำเป็นต้องทำความสะอาดรางน้ำฝนให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา เพราะปัญหาของรางน้ำฝนนอกจากอาการรั่วซึมแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้คือ เกิดการอุดตัน เนื่องจากเศษใบไม้หรือเศษผงต่าง ๆ ร่วงลงมา แล้วไม่ได้รับการทำความสะอาด โดยวิธีการทำความสะอาดเบื้องต้นคือ กำจัดเศษใบไม้ คราบตะไคร่ ที่อุดตันอยู่ในบริเวณท่อออกให้หมด แล้วล้าง ขัดทำความสะอาดคราบฝังแน่นให้หลุดออก โดยระหว่างการทำความสะอาดแนะนำให้สังเกตด้วยว่าบริเวณรางน้ำฝน มีรอยรั่วหรือไม่ ถ้ามีให้หาซิลิโคนกันน้ำมาอุดรอยรั่ว เพื่อยืดอายุการใช้งานครับ รางน้ำฝน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ต้องติดตั้งใช้งานเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากน้ำฝน หากทุกบ้านได้รู้ 5 เคล็ดลับเลือกรางน้ำฝน ตัวช่วยระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน! ตามที่ HomeGuru กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็อย่าลืมเช็กลิสต์ และทำตามคำแนะนำ โดยเฉพาะการเลือกประเภทของรางน้ำฝนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น รางน้ําฝนpvc , รางน้ําฝนสเตนเลส หรือ รางน้ําฝนเมทัลชีท เพื่อความเหมาะสม และความคุ้มค่าตลอดการใช้งาน