โฮมกูรู

บ้านเย็น..ไม่ยาก ออกแบบบ้านร้อนให้เย็นตั้งแต่พื้นจรดหลังคา

บ้านเย็น..ไม่ยาก ออกแบบบ้านร้อนให้เย็นตั้งแต่พื้นจรดหลังคา
ปัญหาบ้านร้อน ปัญหาสุดคลาสสิกที่แทบทุกบ้านต้องเจอ เพราะอากาศเมืองไทยทวีความร้อนมากขึ้นทุกปี ยิ่งหน้าร้อนที่ร้อนทะลุปรอท อุณหภูมิพุ่งปรี๊ดจนฉุดไม่อยู่แบบนี้ยิ่งพาให้หัวร้อนตามอากาศไปด้วย การสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคำนึงถึงการออกแบบที่จะช่วยทำให้บ้านเย็นได้ตั้งแต่โครงสร้าง ซึ่งการออกแบบบ้านเย็นจะมีวิธีใดบ้าง HomeGuru ได้รวบรวมมาให้แล้วครับ 1. กำหนดทิศทางของบ้าน การวางผังบ้านต้องคำนึงถึงทิศทางของลมเป็นหลัก โดยด้านยาวของตัวบ้านควรอยู่ในตำแหน่งทิศเหนือและทิศใต้เพื่อเปิดช่องลมให้เข้าบ้านมากที่สุด ส่วนด้านแคบของตัวบ้านควรอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกที่ต้องรับแดดตลอดช่วงบ่าย เพื่อจำกัดพื้นที่รับความร้อนให้น้อยที่สุดครับ คลายบ้านร้อน 2. ออกแบบหลังคาให้ถูกหลัก เพราะรูปแบบของหลังคามีผลต่ออุณหภูมิในบ้านอย่างมาก หลังคาทรงจั่ว ทรงปั้นหยา และทรงมะนิลา เพราะองศาที่ลาดชันของหลังคารูปทรงนี้จะช่วยลดพื้นผิวสัมผัสในการรับความร้อน ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าหลังคาแบบเรียบขนานไปกับตัวบ้าน และยังช่วยระบายน้ำฝนได้รวดเร็วด้วยครับ นอกจากนี้สีของหลังคาก็สำคัญไม่แพ้กัน การเลือกหลังคาสีอ่อนจะช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่าหลังคาสีเข้ม และอย่าลืมติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาอีกชั้นหนึ่ง หากใครอยากศึกษาเกี่ยวกับฉนวนความร้อนเพิ่มเติม สามารถคลิกอ่านต่อได้ในบทความนี้ครับ ‘ฉนวนกันความร้อน’ คือ? เลือกแบบไหนคลายร้อนให้บ้านคุณ คลายร้อนให้บ้าน
ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน
3. ออกแบบให้ชายคายื่นยาว นอกจากหลังคาทรงสูงที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีแล้ว การออกแบบชายคาบ้านให้ยื่นยาวรอบตัวบ้านจะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดและฝนสาดในฤดูฝนได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทยที่ทั้งแดดจัดและฝนชุก โดยเฉพาะบ้านที่มีการใช้กระจกรอบบ้านจำนวนมาก การทำชายคาแบบนี้จะช่วยลดความร้อนที่จะผ่านกระจกเข้ามาสะสมในตัวบ้านได้ดีครับ บ้านร้อน 4. ออกแบบให้ชานระเบียงกว้าง เปิดโล่ง หากมีพื้นที่เพียงพอ การออกแบบระเบียงให้กว้างและเปิดโล่งจะช่วยให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก ทำให้ตัวบ้านไม่ร้อนอบอ้าว และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนและสันทนาการได้ด้วยครับ 5. ออกแบบยกพื้นใต้ถุนบ้านให้สูงโปร่ง ในกรณีที่ไม่ได้ถมดินก่อนการก่อสร้าง การยกพื้นใต้ถุนขึ้นให้สูงโปร่งจะช่วยป้องกันความชื้นจากดิน ขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้เกิดลมหมุนเวียนบริเวณใต้ถุนบ้านและบนบ้าน ทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ครับ บ้านร้อน 6. เลือกใช้วัสดุผนังที่นำความร้อนต่ำ ได้แก่ อิฐมวลเบา อิฐมอญ ไม้ และไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งวัสดุทั้งหมดนี้ถือเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าอิฐบล็อก และผนังคอนกรีตสำเร็จที่มีค่าการนำความร้อนค่อนข้างสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกแล้ว ยังช่วยรักษาความเย็นภายในบ้านได้ดีด้วยครับ บ้านเย็น 7. จัดสรรความหนาของผนัง นอกจากวัสดุแล้ว ความหนาของผนังก็มีผลต่อความเย็นของบ้านเช่นกัน ผนังที่หนาจะทำให้ความร้อนผ่านเข้าตัวบ้านได้ยากขึ้น หากมีงบประมาณมากพอ การก่อผนังบ้านทางทิศใต้ และทิศตะวันตกที่ต้องรับแดดมากที่สุดให้หนาสัก 2 ชั้น จะช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ครับ 8. ออกแบบช่องเปิดตามทิศทางลม เพราะการวางตำแหน่งประตู หน้าต่างในตัวบ้านมีส่วนสำคัญในการช่วยให้บ้านระบายอากาศเพื่อให้ถ่ายเทความร้อนได้ดี การออกแบบช่องเปิดต่างๆ จึงต้องคำนึงถึงทิศทางของแดดและลมด้วย และนอกจากนี้ยังสามารถลดร้อนโดยการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่การปรับพื้นที่บ้านไปจนถึงการเลือกเครื่องใช้ในบ้านมาเพิ่มเติมและเสริมช่องระบายอากาศได้ที่ ฝ่าวิกฤตหน้าร้อนกับคัมภีร์แต่งบ้านเย็นฉ่ำสุดประหยัดค่าไฟ
สีทาหลังคา สีทาหลังคา สีทาหลังคา สีทาหลังคา
9. วางระบบ Green Roof Garden นอกจากการปลูกต้นไม้ และการสร้างแหล่งน้ำในบ้านเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้บ้านเย็นแล้ว การจัดสวนหรือปลูกพืชคลุมหลังคาที่เรียกกันว่า Green Roof ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียเพื่อบ้านเย็นที่ทั้งสวยงามและช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย ซึ่งข้อดีของบ้านที่สร้างใหม่คือสามารถออกแบบโครงสร้างหลังคา ระบบกันซึม และระบบน้ำต่างๆ เพื่อรองรับการทำ Green Roof Garden ก่อนการก่อสร้างได้เลยครับ บ้านเย็น นอกจากวิธีที่ได้กล่าวมาข้าวต้นแล้ว HomeGuru ยังมีวิธีวิธีปรับบ้านร้อนเป็นบ้านเย็นด้วยการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นด้วย 15 เทคนิคง่ายๆ ทั้งประหยัดและบ้านเย็นเห็นทันตาในบทความนี้ เทคนิคปรับบ้านหลังเดิมให้เป็นบ้านเย็นได้ ไม่ง้อแอร์!

เลือกห้องที่ใช่ ในแบบที่ชอบ! สอบถามบริการออกแบบ 3D Design, ติดตั้งฉนวน, ติดตั้งผ้าม่าน HLS, ติดตั้งกันสาด ระแนง เพิ่มเติมได้ที่ Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284